Skip to main content

ปวดคอ

ปวดแบบไหนควรประคบร้อนหรือเย็น
Posted: January 11, 2024 By: adminrehabcare2 Categories:  Comment:  0

การใช้ประคบเย็น เพื่อลดอาการปวด

ควรใช้ในกรณีหลังมีการบาดเจ็บมาในช่วง 24 - 48 ชั่วโมงแรก หรือมีข้อบ่งชี้ว่าเส้นเลือดบริเวณนั้นมีการฉีกขาด หรือมีการอักเสบ ได้แก่ มีอาการปวด ร่วมกับการบวม แดง และร้อน ซึ่งความเย็นมีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว เลือดออกน้อยลง การบาดเจ็บและการอักเสบจึงลดลงตามไปด้วย

อาการที่ควรประคบเย็น เช่น ปวดศีรษะ มีไข้สูง ปวดฟัน ปวดบวมข้อเท้า ข้อเคล็ด เลือดกำเดาไหล หรือ ปวดบวมบริเวณอื่นๆ ที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บหรือเริ่มมีอาการปวดในช่วงแรก

วิธีประคบที่เหมาะสม อาจใช้เจลสำหรับประคบเย็นแบบสำเร็จรูปหรือทำถุงน้ำแข็งขึ้นใช้เอง โดยใช้ถุงพลาสติกขนาดพอเหมาะ เติมน้ำเปล่าผสมน้ำแข็งในสัดส่วนที่เท่ากัน นำผ้ามาหุ้มอีกชั้น ตรวจสอบว่าไม่เย็นเกินไปโดยการนำมาประคบผิวหนัง ถ้าบริเวณที่มีอาการเป็นบริเวณมือ แขน ขา หรือเท้า อาจใช้การแช่ในภาชนะที่บรรจุน้ำเย็นแทน โดยประคบหรือแช่นานประมาณ 10
- 15 นาทีต่อครั้ง จำนวน 2 - 3 ครั้งต่อวัน

การใช้ประคบร้อน เพื่อลดอาการปวด

ประคบอุ่นนั้นสามารถกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้น เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่น ลดอาการเมื่อยล้า และยังส่งผลในการช่วยลดปวดได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำง่ายๆ ได้ด้วยตนเอง และหากทำควบคู่กับการยืดกล้ามเนื้อจะยิ่งมีประสิทธิภาพในการลดความปวดมากยิ่งขึ้น

อาการที่ควรประคบอุ่น เมื่อมีอาการปวดเมื่อย ปวดตึงของกล้ามเนื้อจากสาเหตุต่างๆ เช่น การนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน การนั่งขับรถต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรือการยืนติดต่อกันเป็นเวลานาน สามารถประคบอุ่นได้ทุกบริเวณ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ เช่น คอ-บ่า หลัง ขา เป็นต้น

วิธีประคบอุ่นที่เหมาะสม ประคบอุ่นในระดับความร้อนที่อุ่นสบาย ต้องไม่รู้สึกแสบผิวหรือไม่ร้อนจัดเกินไป เพื่อป้องกันการเกิดผิวหนังไหม้พอง แนะนำประคบครั้ง 15 - 20 นาที วันละ 1 - 2 รอบ

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการประคบอุ่น

ไม่ควรประคบอุ่นในบริเวณที่มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อน มีแผลเปิด หรือผิวเป็นผื่น

อุปกรณ์ที่ใช้ในการประคบอุ่น

1. เจลประคบอุ่น หรือถุงน้ำร้อน โดยต้องห่อด้วยผ้าเพื่อให้ได้ความร้อนที่เหมาะสม ข้อดีคือ หาใช้ได้ง่าย ราคาไม่แพง แต่ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้

2. แผ่นประคบอุ่นไฟฟ้า เป็นการประคบอุ่นรูปแบบใหม่ข้อดีคือ สามารถควบคุมระดับความร้อนที่พอเหมาะได้ โดยแผ่นประคบอุ่นไฟฟ้าจะมีความร้อนคงที่ มีความสะดวกสบายในการใช้งาน ปลอดภัยสูงเพราะสามารถตั้งเวลาใช้งานได้ อายุการใช้งานนานสามารถประคบได้ทั่วถึงทุกส่วน แต่มีราคาสูงกว่าแบบถุงน้ำร้อน

ปวดคอบ่อย ต้องระวัง "โรคกระดูกคอเสื่อม"
Posted: May 18, 2022 By: adminrehabcare2 Categories:  Comment:  0

#คอบ่าแข็งตึง #ปวดคอไม่ใช่เรื่องเล่น อาจเป็นสาเหตุของโรคกระดูกคอเสื่อม อาการปวดคอเริ่มต้นจากกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง กระดูกคอเสื่อม กระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาท ไปจนถึงกระดูกคอเสื่อมทับไขสันหลัง จากเรื่องการปวดเมื่อยคอธรรมดาหากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่กว่าที่คิดได้นะคะ

  ด้วยยุคสมัยที่ทำให้เราหลีกหนีไม่พ้น เรื่องของการใช้โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น การค้าขายออนไลน์ การนั่งเรียนออนไลน์ การทำงานติดต่อกันออนไลน์ ส่งผลให้กิจกรรมเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดคอ เริ่มที่การมีอิริยาบถไม่ถูกต้อง เช่น

1. นอนหนุนหมอนสูงเกินไป ต่ำเกินไป 

2. ก้มหรือเงยหน้านานๆ 

3. ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ จัดตำแหน่งคอมไม่ถูกต้อง

4. เขียนหนังสืออ่านหนังสือเป็นเวลานานๆ โดยไม่หยุดพัก

5. นั่งขับรถติดต่อกันหลายชั่วโมง

  ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการที่เราอยู่ในอิริยาบทไม่ถูกต้องนี้ส่งผลให้มีการเสื่อมสมรรถภาพของกระดูกคอได้ก่อนวัยอันควร ระดับอาการของการปวดคอมีดังนี้:

1. กล้ามเนื้อคออักเสบ คือ ปวดตึงกล้ามเนื้อรอบคอ เมื่อก้มคอเล่นโทรศัพท์ เมื่อนั่งนานๆ พอขยับเปลี่ยนท่าอาการจะดีขึ้น

2. กระดูกคอเสื่อม คือ นั่งทำงานนานๆเริ่มอาการปวดเมื่อยต้นคอ บ่า ไหล่ มีปวดร้าวขึ้นศีรษะ กระบอกตา 

3. กระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาทคอ คือ ปวดต้นคอ บ่า ไหล่และชาแปล๊บ ตามแนวเส้นประสาท อ่อนแรงบริเวณกล้ามเนื้อต้นแขนหรือมือ เขียนหนังสือไม่ถนัด จับสิ่งของหล่นบ่อย รวมทั้งปวดร้าวจากคอลงไปที่แขน 

4. กระดูกคอเสื่อมกดทับไขสันหลัง จะมีอาการเกร็งบริเวณลำตัว แขนและขา การทรงตัวไม่ดี ก้าวสั้น ใช้งานมือได้ไม่ถนัด เดินแล้วล้มบ่อย

  หากเริ่มมีอาการดังกล่าวควรจะรีบเข้ามารับการตรวจกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง แพทย์จะทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ, การทรงตัวของร่างกาย รวมถึงปฏิกริยาตอบสนองอัตโนมัติของแขนขาเพื่อหาสาเหตุ และวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง และรักษาให้หายอย่างถาวร

วิธีการรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ที่มีอาการปวดคอ

1. ลดอาการปวดและคลายจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อ

โดยการใช้เครื่อง โฟกัสช็อคเวฟ นวัตกรรมใหม่ล่าสุดซึ่งเป็นคลื่นกระแทก สามารถยิงจุดกดเจ็บให้คลายตัวออกจากกัน ,ใช้อัลตร้าซาวด์บำบัด เป็นพลังงานความร้อนเพิ่มการไหลเวียนเลือดและซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บ ,ใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อคลายกล้ามเนื้อ

2. ลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ

โดยใช้ high power laser เป็นพลังงานแสงเลเซอร์เพื่อเติมพลังงานให้กับเซลล์ช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมให้หายไวขึ้น

3. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยนักกายภาพบบำบัดจะเป็นผู้ออกแบบท่าทางให้เหมาะกับบุคคล

4. ปรับพฤติกรรมจัดท่าทางให้เหมาะสมโดยนักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้แนะนำ และติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
 

กระดูกคอเสื่อม...อาการที่ไม่ได้มีแค่ปวดคอ
Posted: July 13, 2021 By: adminrehabcare2 Categories:  Comment:  0

โรคกระดูกคอเสื่อม (Cervical Spondylosis) เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้มากในปัจจุบัน สาเหตุสำคัญคือ เมื่ออายุมากขึ้น ข้อต่อต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างไป เช่น มีการเสื่อมหมอนรองกระดูกสันหลังระดับคอ หมอนรองกระดูกคอยุบ จึงเกิดการเสียดสีกันของกระดูก ทำให้ร่างกายตอบสนองโดยการสร้างหินปูน (Osteophytes) ซึ่งหินปูน ถ้ายื่นไปด้านหลังอาจทำให้ช่องที่เส้นประสาทรอดผ่านแคบลง จนมีการเบียดหรือกดทับประสาทไขสันหลังได้  หรือถ้ายื่นออกไปด้านข้าง ก็จะทำให้เกิดการกดทับของรากประสาทได้

โรคกระดูกคอเสื่อม (Cervical Spondylosis)

อาการ

- ถ้ามีการกดทับของรากประสาท จะมีอาการปวด ชาหรือกล้ามเนื้อมืออ่อนแรง 

- ถ้ามีการกดทับของไขสันหลัง อาจจะมีการเสียการทรงตัวและเดินลำบากร่วมด้วย

อาการ

สาเหตุ

1. อายุมากกว่า 40 ปี

2. ใช้งานศีรษะในท่าก้ม เงย หรือหมุนคอบ่อยๆ

3. อยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานๆ เช่น ทำงานที่ต้องเงยหน้าค้างไว้นานๆเป็นประจำ

4. เกิดอุบัติเหตุ เกิดการกระแทกที่กระดูกสันหลังโดยตรง

5. การเล่นกีฬาที่มีการกระแทก การปะทะกันบ่อยๆ เช่น อเมริกันฟุตบอล หรือการเล่นโยคะในท่าหัวโหม่งพื้นนานๆ

 

การรักษาโรคกระดูกคอเสื่อม

1. รักษาโดยไม่ผ่าตัด

- การทานยา ลดการอักเสบ คลายกล้ามเนื้อ

- การฉีดยา (Prolotherapy Injection) คือฉีดกลูโคสเข้าไปที่บริเวณกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการอักเสบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเร่งกระบวนการฟื้นฟูและรักษาตามธรรมชาติ โดยจะใช้เครื่องอัลตราซาวน์ในการนำการฉีดยา เพิ่มความปลอดภัยและแม่นยำในการฉีด และลดความเสี่ยงการฉีดไปโดนเส้นประสาท

การฉีดยา (Prolotherapy Injection)

- การทำกายภาพบำบัด (Physical Therapy) เช่น

  • การดึงคอ โดยมีจุดประสงค์หลักคือ เพื่อลดการกดทับของเส้นประสาทในรายที่ข้อกระดูกตีบแคบ 

การดึงคอ

  • การดัดดึงข้อต่อ เพื่อช่วยให้ข้อต่อขยับได้ดีขึ้นและลดอาการปวดร่วมด้วย มือของนักกายภาพบำบัด

การดัดดึงข้อต่อ

  • การใช้ Therapeutic ultrasound เข้าไปช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ โดยการเพิ่มการไหลเวียนของเลือด นำออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้ในขบวนการซ่อมแซมมาให้กับเนื้อเยื่อเหล่านี้ คุณจะเห็นถึงผลต่างทันทีหลังการรักษา 

การใช้ Therapeutic ultrasound

  • การใช้ High Power LASER therapy เข้าไปช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ ช่วยลดปวด โดยกระตุ้นให้ไมโตรคอนเดรียซึ่งเป็นแหล่งพลังงานในเซลล์เนื้อเยื่อทำงานได้อย่างประสิทธิภาพในการซ่อมตัวเองเร็วยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับเนื้อเยื่อที่มีน้ำหรือเลือดมาเลี้ยงน้อย เช่น เอ็นข้อต่อ เอ็นกล้ามเนื้อ ในร่างกาย 

การใช้ High Power LASER therapy

2. รักษาโดยการผ่าตัด 

มีข้อบ่งชี้คือ 

- ผู้ป่วยที่มีการทำงานของระบบประสาทเสื่อมถอยลงอย่างต่อเนื่อง

- ตรวจพบการเสียการทำงานของระบบประสาทไขสันหลังมากขึ้น

- การรักษาโดยไม่ผ่าตัดไม่ได้ผล มีอาการมานานกว่า 6 เดือน


วิธีป้องกันและชะลอกระดูกคอเสื่อม

1. ขยับเปลี่ยนท่าทางทุกๆชั่วโมง ไม่นั่งก้มทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ เล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานๆ

ขยับเปลี่ยนท่าทางทุกๆชั่วโมง

2. ฝึกบริหารกล้ามเนื้อต้นคออย่างสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆคอ

3. หลีกเลี่ยงการบิดหมุนคอหรือสะบัดคอบ่อยๆ

4. หากมีอาการปวดต้นคอมากๆ สามารถใส่อุปกรณ์พยุงคอ ได้บ้าง เป็นครั้งคราว โดยทั่วไปไม่แนะนำใส่นานเกิน 1 สัปดาห์ เพราะหากใส่นานเกินไป จะเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้เนื่องจากกล้ามเนื้อคอไม่มีการขยับ

หากมีอาการปวดต้นคอมากๆ สามารถใส่อุปกรณ์พยุงคอ ได้บ้าง เป็นครั้งคราว


การออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้อคอและบ่า เพื่อป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของกระดูกสันหลัง

1. เอียงศีรษะไปด้านซ้ายใช้มือข้างซ้ายจับศีรษะกดลงเบาๆ มืออีกข้างจับขอบเก้าอี้ จนรู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง เมื่อครบแล้วสลับข้าง

เอียงศีรษะไปด้านซ้ายใช้มือข้างซ้ายจับศีรษะกดลงเบาๆ

2. นั่งตัวตรง มือประสานไว้ที่ท้ายทอย ก้มศีรษะลง ออกแรงดันศีรษะเบาๆ จนรู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

นั่งตัวตรง มือประสานไว้ที่ท้ายทอย ก้มศีรษะลง

3. ยืนตรง ปรับคอให้อยู่ในแนวตรงปกติ ใช้ฝ่ามือประสานกันด้านหลังท้ายทอย ออกแรง (เพียงเล็กน้อย) ต้านศีรษะให้อยู่กับที่ นับค้างไว้ 1-15 /1ครั้ง  โดยทำ 8-10 ครั้ง/รอบ เป็นจำนวน 3 รอบ 

ยืนตรง ปรับคอให้อยู่ในแนวตรงปกติ ใช้ฝ่ามือประสานกันด้านหลังท้ายทอย ออกแรง

4. ยืนตรง ปรับคอให้อยู่ในแนวตรงปกติ ใช้ฝ่ามือประสานกันไว้ที่หน้าผากออกแรง (เพียงเล็กน้อย) ต้านศีรษะให้อยู่กับที่ นับค้างไว้ 1-15 /1ครั้ง  โดยทำ 8-10 ครั้ง/รอบ เป็นจำนวน 3 รอบ 

ยืนตรง ปรับคอให้อยู่ในแนวตรงปกติ ใช้ฝ่ามือประสานกันไว้ที่หน้าผากออกแรง

5. ยืนตรง ปรับคอให้อยู่ในแนวตรงปกติ ใช้ฝ่ามือแนบบนหน้า ดังภาพและออกแรง (เพียงเล็กน้อย) ต้านศีรษะให้อยู่กับที่ นับค้างไว้ 1-15 /1ครั้ง  โดยทำ 8-10 ครั้ง/รอบ เป็นจำนวน 3 รอบ แล้วจึงเปลี่ยนข้าง

ยืนตรง ปรับคอให้อยู่ในแนวตรงปกติ ใช้ฝ่ามือแนบบนหน้า ดังภาพและออกแรง

เรารักษาโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ ข้อต่อ เอ็นและเส้นประสาท โดยมีทีมแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูร่วมกับทีมนักกายภาพบำบัดดูแลรักษาคนไข้ 

- มีการใช้เครื่องอัลตราซาวด์ตรวจดูความผิดปกติเพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัย

- วิธีการรักษาการฝังเข็มจีน ฝรั่ง

- อัลตราซาวด์นำการฉีดยา

- การใช้เครื่องมือทันสมัยทางกายภาพบำบัดค่ะ 

- โดยเน้นการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด

สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"

ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare