Skip to main content

Carpal_tunnel_syndrome

แก้ออฟฟิศซินโดรมง่ายๆ แค่วิธีจับเม้าส์และคีย์บอร์ดให้ถูกต้อง !!!
Posted: July 12, 2021 By: adminrehabcare2 Categories:  Comment:  0

Mouse และ Keyboard เป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งในการใช้งานคอมพิวเตอร์หรือการเล่นเกม การใช้เม้าส์และคีย์บอร์ดเป็นการเคลื่อนไหวข้อมือและนิ้ว ซ้ำๆ ส่งผลให้กล้ามเนื้อมัดเล็กที่ใช้เกิดอาการล้าจากการทำงานหนักเกินไป จึงเป็นเหตุให้มีอาการปวด เจ็บข้อมือ มีอาการชาที่นิ้วโป้งและนิ้วชี้ ซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นโรค Carpal Tunnel Syndrome (CTS) 

เมื่อเรามีการกระดกข้อมือเป็นเวลานานๆ ก็จะทำให้มีการกดทับต่อตัวเส้นประสาท (Median nerve) ที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อมือ ส่งผลให้เกิดการปวด ชาและกล้ามเนื้อลีบตามมาได้

Carpal Tunnel Syndrome (CTS)

ดังนั้นการเลือกเม้าส์และคีย์บอร์ดอย่างถูกต้อง การจัดท่าทางอย่างเหมาะสม และระมัดระวังการใช้กล้ามเนื้อและร่างกายสามารถช่วยลดอัตราการเกิดการบาดเจ็บได้


เรามาทำความรู้จักกับรูปแบบของการจับเมาส์ หรือที่เขาเรียกกันว่า Mouse grip ว่ามี 3 รูปแบบ คือ

1. Palm Grip

- การเคลื่อนเมาส์จะกระทำโดยข้อมือและปลายแขน

- มีข้อดีคือผู้จับเมาส์จะสามารถจับได้เป็นเวลานานโดยไม่เมื่อยมือ 

Palm Grip

2.Claw Grip

- การจับเมาส์แบบ Claw Grip มีข้อดีคือจะทำให้ผู้ใช้เมาส์ทำการคลิกได้เร็วขึ้นเนื่องจากแรงกดจะมาจากปลายนิ้วเพียงอย่างเดียวซึ่งจะออกแรงได้ง่ายกว่า

- การใช้ปลายนิ้วจับที่บริเวณตัวเมาส์จะทำให้การควบคุมทิศทางทำได้ง่ายขึ้น

- ผู้ที่จับเมาส์แบบ Claw Grip มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการเมื่อยที่นิ้วมือได้ง่ายกว่าแบบ Palm Grip 

Claw Grip

3.Fingertip Grip

- เป็นการจับแบบที่จะไม่ใช้ฝ่ามือสัมผัสกับตัวเมาส์ แต่จะใช้ปลายนิ้วทั้ง 5 ในการจับ เช่นเดียวกับการเลื่อนเมาส์ที่จะใช้แค่ปลายนิ้วเท่านั้นในการควบคุมทิศทาง

- การจับเมาส์แบบนี้ทำให้ผู้จับสามารถเลื่อนเมาส์ได้เร็วกว่าการจับเมาส์แบบอื่น

- ข้อเสียคือจะทำให้ผู้ใช้รู้สึกเมื่อยมือได้ง่ายที่สุดเมื่อเทียบกับการจับเมาส์แบบอื่น

Fingertip Grip

ลำดับตามความเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บของท่าการจับเม้าส์ เรียงจากความเสี่ยงต่ำไปสูง คือ Palm Grip < Claw Grip < Fingertip Grip 

***ท่าที่ดีที่สุด คือ ท่าที่ 1 Palm Grip เป็นท่าที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดการบาดเจ็บของข้อมือ***

ท่าที่ดีที่สุด คือ ท่าที่ 1 Palm Grip เป็นท่าที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดการบาดเจ็บของข้อมือ

แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะป้องกันการบาดเจ็บจากการใช้เม้าส์นั้นคือ

1. ควรจะจับเม้าส์ให้ข้อมืออยู่ในท่าตรงปกติ ไม่กระดกข้อมือขึ้น 

2. ควรหาผ้าขนหนูม้วนวางรองใต้ข้อมือ หรือแผ่นรองเม้าส์ที่มีเจลหรือโฟม รองรับบริเวณข้อมือ

3. เลือกขนาดของเม้าส์ให้เหมาะสมพอดีกับมือจะหนุนส่วนโค้งของมือ เม้าส์ที่ใหญ่กว่าฝ่ามือทำให้คุณต้องใช้กล้ามเนื้อแขนที่ใหญ่กว่า มากกว่าที่จะใช้กล้ามเนื้อข้อมือที่เล็กกว่า ซึ่งจะทำให้เกิดอาการอ่อนล้าและเกิดโรคกระดูกผิดรูป


คีย์บอร์ด

คีย์บอร์ด

แป้นพิมพ์ปกติจะบังคับให้ข้อมือเรามีการเบี่ยงออกเล็กน้อย(ปลายนิ้วมือชี้ออกด้านนอก) ทำให้ข้อไหล่ของเรามีการหมุนเข้าด้านใน ส่งผลให้มีแรงกดไปอยู่ที่บริเวณปลายแขนและข้อมือ ส่งผลทำให้เกิดการบาดเจ็บที่บริเวณข้อมือได้

แป้นพิมพ์ปกติ

ดังนั้นเราควรจะหาผ้าขนหนูม้วนมารองบริเวณข้อมือเพื่อปรับให้ข้อมืออยู่ในแนวปกติ ลดแรงกดบริเวณข้อมือ

ผ้าขนหนูม้วนมารองบริเวณข้อมือเพื่อปรับให้ข้อมืออยู่ในแนวปกติ


เมื่อเราปรับเม้าส์และคีย์บอร์ดแล้ว ต้องทำสิ่งต่อไปนี้ดังนี้

1. Rest : พักการใช้งาน จำไว้ทุกครั้งร่างกายต้องการพัก แนะนำให้ตั้งเวลาทุกๆ 45 นาที - 1 ชั่วโมง ให้พักการใช้งาน 5-10 นาที

2. Stretch&Strength : เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนี้

2.1  ท่ากล้ามเนื้อท้องแขนท่อนล่าง 

วิธีทำ : เหยียดข้อศอกให้สุด กระดกข้อมือขึ้น ใช้มืออีกข้างดันมือเข้าหาลำตัวจนรู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง เมื่อครบแล้วสลับข้าง

Stretch&Strength

2.2  ท่ากล้ามเนื้อหลังแขนท่อนล่าง 

วิธีทำ : เหยียดข้อศอกให้สุด คว่ำและกดข้อมือลง ใช้มืออีกข้างดันมือเข้าหาลำตัวจนรู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง เมื่อครบแล้วสลับข้าง

ท่ากล้ามเนื้อท้องแขนท่อนล่าง

2.3 ท่าบีบมือ

วิธีทำ : บีบลูกบอลและปล่อย ทำ 15 ครั้ง/ชุด 3ชุดต่อวัน เมื่อครบแล้วสลับข้าง

ท่าบีบมือ

2.4 ท่าคว่ำมือและกระดกข้อมือขึ้น

วิธีทำ : แขนวางบนโต๊ะในท่าคว่ำมือ และยื่นออกมาเล็กน้อย ถือขวดน้ำ และค่อยๆกระดกข้อมือขึ้น (ท่าบิดรถจักรยานยนต์) ทำ 15 ครั้ง/ชุด 3ชุดต่อวัน เมื่อครบแล้วสลับข้าง

ท่าคว่ำมือและกระดกข้อมือขึ้นท่าคว่ำมือและกระดกข้อมือขึ้น

2.5 ท่าหงายมือและกระดกข้อมือขึ้น

วิธีทำ : แขนวางบนโต๊ะในท่าหงายมือ และยื่นออกมาเล็กน้อย ถือขวดน้ำ และค่อยๆกระดกข้อมือขึ้น  ทำ 15 ครั้ง/ชุด 3ชุดต่อวัน เมื่อครบแล้วสลับข้าง

ท่าหงายมือและกระดกข้อมือขึ้นท่าหงายมือและกระดกข้อมือขึ้น

ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม หากมีอาการปวด ชา ควรไปพบแพทย์และนักกายภาพบำบัด เพื่อเข้ารับการประเมินสาเหตุและได้รับการรักษาที่เหมาะสม

 

สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"

ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare