Skip to main content

ปวดไหล่

5 ท่าที่ทำประจำอาจทำให้เอ็นหัวไหล่ฉีก โดยไม่รู้ตัว
Posted: January 19, 2024 By: adminrehabcare2 Categories:  Comment:  0

หัวไหล่เป็นหนึ่งในข้อต่อที่สำคัญของร่างกาย เคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง ข้อไหล่จึงเป็นหนึ่งในข้อต่อที่เคลื่อนไหวและถูกใช้ในการทำกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันของเรามากที่สุดข้อหนึ่ง โดยบริเวณหัวไหล่ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่างๆ ทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว และถ้าหากเราทำท่าทางการเคลื่อนไหวที่ผิด อาจเป็นการทำร้ายข้อไหล่โดยไม่รู้ตัว วันนี้เรามารู้จักท่าทางที่ผิดๆ ที่มักเผลอทำกันจนเป็นการทำร้ายข้อไหล่ และส่งผลให้เกิดโรคเกี่ยวกับอาการปวดไหล่หรืออันตรายถึงขึ้นเอ็นหัวไหล่ฉีกตามมา

5 ท่าที่ทำโดยไม่รู้ตัวเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดไหล่

ท่าที่ 1 นอนตะแคงทับแขนตัวเอง ทำให้ข้อไหล่ถูกกดทับและเกิดแรงกดทับต่อกล้ามเนื้อไหล่และเส้นเอ็น ทำให้เกิดอาการปวดไหล่จากการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณนั้นได้

โดยท่านอนตะแคงที่ถูกต้องคือต้องไม่นอนทับแขนตัวเอง เหยียดแขนออกมาเล็กน้อยและใช้การกอดหมอนหรือกอดหมอนข้างเพื่อลดการกดทับของข้อไหล่

ท่าที่ 2 หิ้วของหนัก เนื่องจากกล้ามเนื้อทำงานหนัก (overuse) เส้นเอ็นจึงถูกดึงกระชากจากน้ำหนักของที่มากขึ้น ทำให้เกิดการบาดจ็บของเส้นเอ็นกล้ามนื้อไหล่ได้ เช่น การหิ้วถังน้ำ หิ้วผลไม้ ที่มีน้ำหนักมากเป็นเวลานานๆ

โดยท่าที่ถูกคือ แบ่งน้ำหนักให้น้อยลงและยกของให้แนบชิดลำตัวให้มากที่สุด เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อไหล่

ท่าที่ 3 แกว่งแขนเพื่อออกกำลังกาย โดยอาจจะแกว่งแขนในลักษณะที่ผิด ไม่ควรแกว่งแขนในลักษณะคว่ำมือ และเร็วๆ แรงๆ ซ้ำๆ ซึ่งการแกว่งแขนแบบคว่ำมือนั้นทำให้ข้อไหล่หมุนเข้า มีโอกาสเกิดการกดเบียดระหว่างกระดูกข้อไหล่และกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นกล้ามเนื้อได้ จนเกิดการอักเสบรุนแรงและปวดไหล่ หรืออาจเอ็นหัวไหล่ฉีกขาดรุนแรงจนต้องผ่าตัด

โดยท่าที่ถูกคือการแกว่งแขนในลักษณะหันมือเข้าหาลำตัวหรือหงายมือ และแกว่งช้าๆ ไม่เหวี่ยงแขนด้วยความเร็ว ระหว่างที่ทำควรนับจำนวนครั้ง แบ่งเป็นเซ็ตและควรมีเวลาพักระหว่างเซ็ตด้วย เพื่อไม่ให้ข้อไหล่ทำงานหนักเกินไป

ท่าที่ 4 เอื้อมหรือยกแขนเหนือศีรษะเป็นเวลานาน เช่น เอื้อมหยิบของหลังรถ เอื้อมเช็ดกระจก เอื้อมยกของหนักๆ การยกแขนสูงเหนือศีรษะในลักษณะทำซ้ำๆ โดยหลายคนจะยกแขนขึ้นในลักษณะที่คว่ำมือลง ซึ่งเป็นท่าทางที่ผิดเป็นอย่างมาก การคว่ำมือลงจะทำให้ข้อไหล่บิดหมุนเข้าด้านใน และเมื่อเรายกแขนสูงในท่านั้นจะเกิดการกดเบียดระหว่างกระดูกข้อไหล่และกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการอักเสบและปวดไหล่ได้เช่นกัน

โดยท่าที่ถูกต้องคือการยกแขนในลักษณะที่หันฝ่ามือเข้าหาตัวเองหรือหงายมือขึ้น ท่านี้จะทำให้ไม่เกิดการกดเบียดระหว่างกระดูกข้อไหล่และกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น และหากต้องใช้ข้อไหล่ในการทำกิจกรรมซ้ำๆ ควรมีช่วงเวลาพัก เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ

ท่าที่ 5 การวิดพื้นผิดวิธี การยันพื้นหรือใช้หัวไหล่รับน้ำหนักตัวทั้งหมด จะทำให้เกิดแรงกระทำแบบบดขยี้ (Crush Injury) ที่เส้นเอ็นซึ่งอยู่ระหว่างข้อหัวไหล่และกระดูกแขน เกิดการอักเสบ หรือการฉีกขาดของเอ็นหัวไหล่ได้

โดยการออกกำลังกายที่ดี ควรค่อยๆ เริ่ม ไม่ควรเพิ่มจำนวนครั้งที่มากเกิดไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแรงมากระทำต่อเส้นเอ็น

หากใครมีอาการปวดไหล่และยกได้ไม่สุด แนะนำการตรวจวินิจฉัยโดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์ (musculoskeletal ultrasound) เพื่อใช้วินิจฉัยสแกนดูความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ภายในข้อไหล่ ซึ่งจะสามารถตรวจได้ถึงลักษณะเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และข้อต่อ ทำให้เห็นถึงการอักเสบ การฉีกขาดและความผิดปกติภายในข้อไหล่ได้

ส่วนในการรักษานั้นนักกายภาพบำบัดจะเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมต่ออาการคนไข้โดยใช้เครื่องมือต่างๆ ดังนี้ Focus Shockwave, High Power Laser, Ultrasound, Electrical Stimulation เพื่อลดอาการปวด การอักเสบ ร่วมกับการออกกำลังกายและการยืดกล้ามเนื้อเฉพาะบุคคลเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและคงสภาพการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ เพิ่มความมั่นคงและใช้งานทดแทนเส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บได้

ปวดไหล่ที่ไม่ได้มีแค่ไหล่ติด “ภาวะกระดูกทับเส้นเอ็นและถุงน้ำบริเวณข้อไหล่อักเสบ”
Posted: January 15, 2024 By: adminrehabcare2 Categories:  Comment:  0

อาการปวดไหล่ เป็นอาการที่นำไปสู่โรคได้หลากหลาย ซึ่งต้องมีการประเมินอาการเพื่อหาสาเหตุและตัวโรคที่ชัดเจน เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม โดย 2 โรคที่พบในอาการปวดไหล่นอกจากโรคไหล่ติด คือ

1. ภาวะกระดูกทับเส้นเอ็น (Shoulder Impingement Syndrome : SIS ) หรือ Painful Arc Syndrome เป็นภาวะที่จะมีอาการปวดไหล่ทางด้านหน้า เกิดจากการที่กระดูกบริเวณ Coracoacromial Arch และส่วนหัวของกระดูกต้นแขนเกิดการเสียดสีกัน ทำให้เกิดการกดเบียดเส้นเอ็นข้อไหล่ (Rotator Cuff) ส่งผลให้เกิดการอักเสบและบาดเจ็บตามมา โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะดังนี้

ระยะ 1 เส้นเอ็นกล้ามเนื้อ Supraspinatus เกิดการบวมและมีเลือดออกภายใน
ระยะ 2 เกิดผังผืด (Fibrosis) และเกิดการหนาตัวขึ้นของเอ็นข้อไหล่ Coracoacromial Ligament
ระยะ 3 เกิดการฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อข้อไหล่กลุ่ม Rotator Cuff

ส่วนมากมีสาเหตุจากการ ใช้งานข้อไหล่หนักเกินไป หรือทำกิจกรรมที่มีการขยับข้อไหล่ซ้ำๆ นานๆ หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของกระดูกบริเวณข้อไหล่ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะ Shoulder Impingement Syndrome ได้

อาการที่พบบ่อย
1. ปวดไหล่ด้านหน้าและด้านข้างแบบเป็นๆ หายๆ หรือค่อยๆ ปวดเพิ่มมากขึ้น
2. ปวดมากเวลากลางคืน
3. นอนตะแคงทับข้างที่ปวดไม่ได้
4. อาการปวดไหล่รบกวนการทำกิจกรรมหรือการใช้ชีวิตประจำวัน ยกแขนได้ไม่สุด อาจมีอาการแขนอ่อนแรงเนื่องจากอาการปวดทำให้ขยับแขนได้ลดลงตามไปด้วย

ในการตรวจวินิจฉัยจะมีการซักประวัติเกี่ยวกับอาการปวด กิจกรรมที่ทำ สาเหตุ และท่าทางต่างๆ ร่วมกับข้อบ่งชี้อื่นๆหรืออุบัติเหตุที่เคยเกิดขึ้น รวมถึงมีการตรวจร่างกายโดยการทำท่าทดสอบเฉพาะต่างๆ เพื่อยืนยันว่ามีภาวะ ShoulderImpingement Syndrome ร่วมกับการตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์วินิจฉัย ทำให้สามารถเห็นความผิดปกติของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ และข้อต่อได้อย่างละเอียดและชัดเจนมากขึ้น

2. ถุงน้ำบริเวณข้อไหล่อักเสบ หรือ Subacromial bursitis เป็นการอักเสบของถุงน้ำ (Bursa) ที่อยู่ระหว่างกระดูก Acromionกับกล้ามเนื้อ Supraspinatus อาจเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ หรือ การใช้งานไหล่ในลักษณะซ้ำๆ ซึ่งมักจะมีอาการควบคู่กับเส้นข้อไหล่เอ็นอักเสบ

โดยส่วนมากมักจะพบอาการปวดไหล่และบวมชัดเจน ที่บริเวณผิวอาจมีอุณหภูมิอุ่น ร้อน หรือแดงได้ ยกแขนขึ้นหวีผมไม่ได้ ใส่เสื้อยืดลำบาก ถ้าเอามือบีบที่หัวไหล่จะปวดมาก ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดในเวลากลางคืน

การตรวจวินิจฉัย เนื่องจากอาการปวดไหล่เป็นได้จากหลายสาเหตุ เช่น มีการบาดเจ็บที่ตัวเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ (Tendoninjury), เส้นเอ็นยึดข้อต่อ (Ligament injury), ถุงน้ำอักเสบ (Bursitis) หรืออาจจะเป็นที่ตัวข้อไหล่ การตรวจวินิจฉัยด้วย เครื่องอัลตราซาวด์(Musculoskeletal Ultrasounds) จะสามารถทำให้มองเห็นสาเหตุได้ชัดเจน โดยสแกนเครื่องอัลตราซาวด์ผ่านผิวหนัง
ลงไปบริเวณถุงน้ำที่มีการอักเสบ เพื่อช่วยให้วินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ เนื่องจากสามารถเห็นส่วนประกอบที่อยู่ด้านในข้อไหล่ที่มีการบาดเจ็บหรืออักเสบได้ โดยภาพที่แสดงภาวะอักเสบ จะพบของเหลวในถุงน้ำมีปริมาณมากเกินกว่าปกติ หรืออาจพบการหนาตัวของผนังถุงน้ำได้

อาการปวดไหล่แม้เพียงเล็กน้อย สามารถนำไปสู่โรคที่รุนแรงได้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการและรับการรักษาอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันไม่ให้ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

ปวดแบบไหนควรประคบร้อนหรือเย็น
Posted: January 11, 2024 By: adminrehabcare2 Categories:  Comment:  0

การใช้ประคบเย็น เพื่อลดอาการปวด

ควรใช้ในกรณีหลังมีการบาดเจ็บมาในช่วง 24 - 48 ชั่วโมงแรก หรือมีข้อบ่งชี้ว่าเส้นเลือดบริเวณนั้นมีการฉีกขาด หรือมีการอักเสบ ได้แก่ มีอาการปวด ร่วมกับการบวม แดง และร้อน ซึ่งความเย็นมีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว เลือดออกน้อยลง การบาดเจ็บและการอักเสบจึงลดลงตามไปด้วย

อาการที่ควรประคบเย็น เช่น ปวดศีรษะ มีไข้สูง ปวดฟัน ปวดบวมข้อเท้า ข้อเคล็ด เลือดกำเดาไหล หรือ ปวดบวมบริเวณอื่นๆ ที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บหรือเริ่มมีอาการปวดในช่วงแรก

วิธีประคบที่เหมาะสม อาจใช้เจลสำหรับประคบเย็นแบบสำเร็จรูปหรือทำถุงน้ำแข็งขึ้นใช้เอง โดยใช้ถุงพลาสติกขนาดพอเหมาะ เติมน้ำเปล่าผสมน้ำแข็งในสัดส่วนที่เท่ากัน นำผ้ามาหุ้มอีกชั้น ตรวจสอบว่าไม่เย็นเกินไปโดยการนำมาประคบผิวหนัง ถ้าบริเวณที่มีอาการเป็นบริเวณมือ แขน ขา หรือเท้า อาจใช้การแช่ในภาชนะที่บรรจุน้ำเย็นแทน โดยประคบหรือแช่นานประมาณ 10
- 15 นาทีต่อครั้ง จำนวน 2 - 3 ครั้งต่อวัน

การใช้ประคบร้อน เพื่อลดอาการปวด

ประคบอุ่นนั้นสามารถกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้น เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่น ลดอาการเมื่อยล้า และยังส่งผลในการช่วยลดปวดได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำง่ายๆ ได้ด้วยตนเอง และหากทำควบคู่กับการยืดกล้ามเนื้อจะยิ่งมีประสิทธิภาพในการลดความปวดมากยิ่งขึ้น

อาการที่ควรประคบอุ่น เมื่อมีอาการปวดเมื่อย ปวดตึงของกล้ามเนื้อจากสาเหตุต่างๆ เช่น การนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน การนั่งขับรถต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรือการยืนติดต่อกันเป็นเวลานาน สามารถประคบอุ่นได้ทุกบริเวณ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ เช่น คอ-บ่า หลัง ขา เป็นต้น

วิธีประคบอุ่นที่เหมาะสม ประคบอุ่นในระดับความร้อนที่อุ่นสบาย ต้องไม่รู้สึกแสบผิวหรือไม่ร้อนจัดเกินไป เพื่อป้องกันการเกิดผิวหนังไหม้พอง แนะนำประคบครั้ง 15 - 20 นาที วันละ 1 - 2 รอบ

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการประคบอุ่น

ไม่ควรประคบอุ่นในบริเวณที่มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อน มีแผลเปิด หรือผิวเป็นผื่น

อุปกรณ์ที่ใช้ในการประคบอุ่น

1. เจลประคบอุ่น หรือถุงน้ำร้อน โดยต้องห่อด้วยผ้าเพื่อให้ได้ความร้อนที่เหมาะสม ข้อดีคือ หาใช้ได้ง่าย ราคาไม่แพง แต่ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้

2. แผ่นประคบอุ่นไฟฟ้า เป็นการประคบอุ่นรูปแบบใหม่ข้อดีคือ สามารถควบคุมระดับความร้อนที่พอเหมาะได้ โดยแผ่นประคบอุ่นไฟฟ้าจะมีความร้อนคงที่ มีความสะดวกสบายในการใช้งาน ปลอดภัยสูงเพราะสามารถตั้งเวลาใช้งานได้ อายุการใช้งานนานสามารถประคบได้ทั่วถึงทุกส่วน แต่มีราคาสูงกว่าแบบถุงน้ำร้อน

แกว่งแขน ท่าออกกำลังกายยอดฮิต เสี่ยงเอ็นไหล่ฉีกได้
Posted: December 12, 2023 By: adminrehabcare2 Categories:  Comment:  0

แกว่งแขนทำให้เอ็นไหล่ฉีกได้อย่างไร ก่อนอื่นมาทำความรู้จักโครงสร้างของข้อไหล่กันก่อน โดยปกติข้อไหล่ของเรา ประกอบด้วยกระดูก 3 ส่วน คือ กระดูกท่อนแขนด้านบน (humerus) กระดูกสะบัก (scapular) และกระดูกไหปลาร้า (clavicle)

ส่วนประกอบของข้อไหล่

1. เยื่อหุ้มข้อไหล่ (capsule) จะค่อนข้างยืดหยุ่นและสามารถขยายตัวหรือหดตัวตามการขยับของข้อไหล่

2. เส้นเอ็นข้อไหล่ (rotator cuff) ซึ่งมีกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น 4 มัดที่ช่วยเสริมความมั่นคงให้กับข้อไหล่ เป็นแกนหมุนและ ช่วยในการขยับข้อไหล่

3. ถุงน้ำ (bursa) ช่วยในการหล่อลื่นและป้องกันการเสียดสีของเส้นเอ็นข้อไหล่ (rotator cuff) กับกระดูกส่วนบนของไหล่ (acromion) เมื่อมีการอักเสบหรือมีการฉีกขาดของเส้นเอ็นข้อไหล่ตัวถุงน้ำจะมีภาวะอักเสบ (bursitis) และมีอาการเจ็บ ร่วมด้วย

การแกว่งแขนที่ผิดวิธี คือ การคว่ำมือแกว่งแขนที่ “เร็ว แรง และซ้ำๆ” จะทำให้เกิดภาวะเอ็นไหล่ฉีกขาดได้จากท่าทาง ที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการกดเบียดของหัวกระดูกต้นแขนกับเบ้าของกระดูก เส้นเอ็น rotator cuff ที่ลอดผ่านบริเวณนั้นจะเกิด การเสียดสีกับกระดูก ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บและอักเสบได้ และหากการบาดเจ็บรุนแรงอาจถึงขั้นเส้นเอ็นข้อไหล่ฉีกขาด (rotator cuff tear) ได้

อาการที่พบได้ในผู้ที่มีภาวะเอ็นข้อไหล่ฉีก

1. ปวดไหล่ตอนกลางคืน หรือปวดเมื่อนอนตะแคงทับ

2. ไม่สามารถขยับไหล่ได้เต็มที่ หรือรู้สึกขัดเสียวขณะขยับในบางท่าทาง โดยเฉพาะท่าบิดหรือไขว้หลัง

3. อ่อนแรง ไม่สามารถยกหรือขยับไหล่ได้

ดังนั้นรีแฮปแคร์คลินิกแนะนำว่าหากต้องการแกว่งแขนเพื่อออกกำลังกาย ให้ทำโดยหงายมือขึ้น ยกแขนขึ้นลงช้าๆ เท่านี้ ก็จะสามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่และลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของข้อไหล่ได้

ภาพแสดง การแกว่งแขนแบบถูกวิธี

หากใครมีอาการปวดไหล่ ในเบื้องต้นทางคลินิกแนะนำให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่รุนแรง เลี่ยงท่าทางที่กระตุ้นให้ เกิดอาการเจ็บ และระมัดระวังการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ เช่น งดการยกของหนัก งดการเอื้อม หมุน บิดไหล่ เพื่อไม่ให้มีการ บาดเจ็บเพิ่มขึ้น และรีบพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินและรักษาโดยเร็ว

ซึ่งทางคลินิกรีแฮปแคร์ มีวิธีการตรวจประเมินที่ทำได้ง่ายและรวดเร็ว คือ การตรวจประเมินด้วยเครื่อง อัลตราซาวด์ วินิจฉัย (musculoskeletal ultrasound) ช่วยให้เห็นความผิดปกติของเส้นเอ็นข้อไหล่ เช่น การอักเสบ ฉีกขาด หรือข้อไหล่เสื่อม เป็นต้น

แนวทางการรักษาอาการปวดไหล่ เส้นเอ็นไหล่ฉีก

เมื่อตรวจประเมินและวินิจฉัยแล้วแพทย์จะวางแผนการรักษาให้อย่างเหมาะสม ได้แก่

1. การรักษาทางกายภาพบำบัด คือ การใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น focus shockwave (พลังงานคลื่นกระแทก) บริเวณที่มีเส้นเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบเพื่อให้เกิดกระบวนการซ่อมแซมฟื้นฟูได้ดี, high power laser (เลเซอร์พลังงานสูง) เพื่อลดการ อักเสบและเร่งกระบวนการซ่อมแซมบริเวณที่บาดเจ็บ และการออกกำลังกาย เป็นต้น

2. การฉีดยาโดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์นำวิถี เช่น การฉีดเกล็ดเลือดสกัดเข้มข้น (PRP) หรือการฉีดกลูโคส (prolotherapy) ทำให้ การรักษาตรงจุด รวดเร็วและมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการระมัดระวังท่าทางที่ทำให้เกิดอาการปวดและแกว่งแขนอย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้เกิดการ บาดเจ็บ หากใครที่มีอาการบาดเจ็บแล้วควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาไม่ปล่อยให้ให้อาการเรื้อรัง

“ปวดไหล่” เอ็นไหล่ฉีก ไหล่ติด หรือข้อไหล่อักเสบ ??
Posted: October 15, 2021 By: adminrehabcare2 Categories:  Comment:  0

#ปวดไหล่ #กินยาไม่หาย #แต่ขยับแขนได้ไม่สุด #ปวดจนนอนไม่ได้ 

อาการปวดไหล่เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ในผู้ที่มีอาการปวดไหล่เรื้อรังหรือมีอาการไหล่ติด และไม่สามารถใช้งานไหล่ได้อย่างปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเกิดจากมีเส้นเอ็นหัวไหล่ฉีกขาดซ่อนอยู่ก็เป็นได้ 

วันนี้มารู้จัก #3โรคข้อไหล่ยอดฮิต

1. เอ็นหัวไหล่ฉีก 

อาจเกิดจากความเสื่อมของเส้นเอ็น อุบัติเหตุกระแทกบริเวณไหล่ เส้นเอ็นไหล่ฉีกขาดแล้วไม่สมานกันเองตามธรรมชาติ

2. ข้อไหล่ติด

ส่งผลให้ขยับไหล่ได้น้อยลง และมีอาการปวดไหล่เป็นเวลานาน ผู้ที่เป็นเบาหวาน ไทรอยด์เป็นพิษมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป

3. ข้อไหล่อักเสบ

อาจเกิดจากการใช้งานไหล่ซ้ำๆกันโดยเฉพาะงานที่ต้องยกแขนสูง เช่นปัดฝุ่นหรือเช็ดถูหน้าต่าง หรืองานหนักที่ต้องใช้แรงไหล่มาก ซึ่งโรคเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดไหล่มาก ไม่สามารถยกไหล่ขึ้นเหนือศีรษะได้ ปวดมากขึ้นเวลาบิดหมุนข้อไหล่ และเกิดอาการอ่อนแรงรอบๆข้อไหล่ สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาอาการปวดไหล่คือการวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำ

หากท่านใดมีข้อสงสัยว่าอาการปวดไหล่มาจากสาเหตุใด มาหาคำตอบกับเราได้ที่ Rehab care clinic โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถให้การวินิจฉัยโรคได้แม่นยำเพิ่มมากขึ้นและสามารถให้การรักษาได้ถูกต้องตรงตำแหน่งกับรอยโรคที่เป็นช่วยตรวจหาสาเหตุที่เป็นได้โดยการใช้เครื่องอัลตราซาวด์วินิจฉัย Ultrasound diagnosis คือการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

ข้อดี

•    วินิจฉัยและประเมินสภาพของเส้นเอ็นบริเวณข้อไหล่ 

•    ตรวจได้ง่ายและได้รับการวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว 

•    ไม่ต้องได้รับแสงรังสีซึ่งมีความปลอดภัยต่อผู้ป่วย 

•    ราคาไม่แพงมากเหมือนกับการตรวจด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)  

•    สามารถมองเห็นว่าเส้นเอ็นมีการบวม การอักเสบ การฉีกขาด หรือในบางครั้งที่มีหินปูนเกาะที่เส้นเอ็น ได้จากหน้าจอมอนิเตอร์ได้เลย

รู้อย่างนี้แล้วอย่าปล่อยให้มีอาการปวดไหล่เรื้อรังนะคะ รีบมาหาคำตอบกับเราและรีบรักษาให้หายไวๆได้เลยค่ะ

หากมีคำถามเกี่ยวกับอาการปวด สามารถติดต่อคลินิกได้ในช่องทางต่อไปนี้ค่ะ 

LINE: https://lin.ee/l9V8X8q

1. สาขาเพชรเกษม 

  วันจันทร์-ศุกร์เปิด 10.00-20.00น.

  วันเสาร์-อาทิตย์เปิด 09.00-18.00น.

  ติดต่อคลินิกได้ที่ เบอร์ 061-801-2482  หรือ 062-790-1116 

2. สาขาพระราม 2

  เปิดทุกวันเวลา 10.00-19.00 น.

  ติดต่อคลินิกได้ที่เบอร์ 062-773-1113

 

โรคเจ็บๆของโปรกอล์ฟ
Posted: July 13, 2021 By: adminrehabcare2 Categories:  Comment:  0

Glofer’s elbow คืออะไร

คือ การอักเสบของกลุ่มเอ็นกล้ามเนื้อด้านในข้อศอก (Medial epicondylitis) หรือกลุ่มกล้ามเนื้อที่ใช้งอข้อมือลง (Flexor group)

Glofer’s elbow

สาเหตุของ Glofer’s elbow

การใช้งานซ้ำๆ ที่มากเกินไป (overuse injury) หรือ การสะบัดอย่างแรง ทำให้เกิดการบาดเจ็บของเอ็นกล้ามเนื้อที่เกาะกับกระดูก ถ้ารุนแรงมากอาจมีการฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อได้

ทำไมถึงเรียกว่า Glofer’s elbow

เพราะอาการนี้พบบ่อยในผู้ที่เล่นกอล์ฟ เนื่องจากเป็นกีฬาที่ต้องอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อกลุ่มนี้อย่างหนัก โดยฉับพลันซ้ำๆกัน

อาการของ Glofer’s elbow มีอะไรบ้าง

1. ปวดบริเวณปุ่มข้อศอกด้านใน (Medial epicondyle) ซึ่งอาจปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อมือ

2. เมื่อคลำดูอาจพบจุดกดเจ็บบริเวณเอ็นกล้ามเนื้อข้อศอกด้านใน

3. มีอาการปวดตึงข้อศอกเฉพาะด้านใน หรือทั้งข้อศอก หรืออาจปวดตึงลามไปถึงข้อมือ

4. หากเพิ่งเริ่มเป็นอาจพบอาการบวม แดง ร้อน บริเวณข้อศอก

5. อาการปวดจะเพิ่มมากขึ้น เมื่อต้องออกแรงเกร็งกล้ามเนื้อรอบๆข้อศอก

6. หากเป็นมานานหรือเรื้อรังอาจพบอาการอ่อนแรงหรือฝ่อลีบของกล้ามเนื้อบริเวณข้อศอก

ท่าบริหารเบื้องต้นของผู้ที่เป็น Glofer’s elbow และ Tennis elbow 

สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ 

https://www.rehabcareclinic.com/blog/7-ท-าออกกำล-งพ-ช-ตอาการปวดศอกด-านนอก

ท่าบริหารเบื้องต้นของผู้ที่เป็น Glofer’s elbow และ Tennis elbow

แต่วันนี้แอดมินขอนำเสนอวิธีการลดอาการปวดโดยเครื่องมือเทคโนโลยีที่ทันสมัย

HIGH POWER LASER  หรือ เครื่องเลเซอร์พลังงานสูง

เป็นเทคโนโลยีลดอาการปวดที่ทันสมัย ที่ได้รับการรับรองและเป็นที่นิยมมากในต่างประเทศ เพราะนอกจากจะลดอาการปวดแล้วยังช่วยเติมพลังงานให้กับเซลล์ที่ได้รับบาดเจ็บ ช่วยฟื้นฟูและเร่งกระบวนการรักษากล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเส้นประสาท โดยคนไข้ 95% จะรู้สึกถึงผลการรักษาทันที

 HIGH POWER LASER  หรือ เครื่องเลเซอร์พลังงานสูง

ULTRASOUND-GUIDED DIAGNOSIS

สามารถตรวจดูบริเวณที่มีการบาดเจ็บเพื่อวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น และยังเห็นภาพโครงสร้างที่บาดเจ็บเพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัยโรค

 ULTRASOUND-GUIDED DIAGNOSIS

การฉีดยา Prolotherapy Injection

คือฉีดกลูโคสเข้าไปที่บริเวณกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการอักเสบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเร่งกระบวนการฟื้นฟูและรักษาตามธรรมชาติ โดยจะใช้เครื่องอัลตราซาวน์ในการนำการฉีดยา เพิ่มความปลอดภัยและแม่นยำในการฉีด และลดความเสี่ยงการฉีดไปโดนเส้นประสาท

การฉีดยา Prolotherapy Injection

Platelet-Rich Plasma หรือ PRP Injection

คือการปั่นเกล็ดเลือดเข้มข้นเพื่อรักษาอาการปวดเรื้อรังของโรคเส้นเอ็น ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ  

โดยใช้เลือดของคนไข้มาสกัดเอาเฉพาะส่วนที่เป็นเกล็ดเลือดและฉีดกลับเข้าไปในส่วนที่ต้องการรักษา 

ซึ่งมีงานวิจัยออกมารองรับและได้รับการยอมรับจากต่างประเทศมามากกว่า 10 ปี 

Platelet-Rich Plasma หรือ PRP Injection

สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง

สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"

ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare

ปวดไหล่ !! ระวังเส้นเอ็นขาด
Posted: July 08, 2021 By: adminrehabcare2 Categories:  Comment:  0

Biceps tendinitis

วันนี้มีเคสหญิงวัยกลางคนเจ็บไหล่ข้างซ้ายและรู้สึกอ่อนแรงเวลายกแขน ซักประวัติพบว่า ผู้ป่วยเคยผ่าตัดบริเวณหัวไหล่ขวา จากนั้นจึงใช้งานไหล่ซ้ายแทนไหล่ขวา ทั้งถือของเวลาไปทำงาน ถือกระเป๋าช้อปปิ้ง จนเริ่มมีอาการเจ็บด้านหน้าไหล่ซ้ายเวลายกแขน หรือถือของหนัก เมื่อสังเกตดูภายนอกไม่พบอาการผิดปกติ แต่เมื่อคลำพบจุดกดเจ็บบริเวณด้านหน้าข้อไหล่ หรือที่เรียกว่า Bicipital groove และเมื่อตรวจดูพบว่า ยังสามารถยกแขนข้นไปได้สุด แต่เมื่อต้านแรงจะมีอาการเจ็บด้านหน้าข้อไหล่ทันที

เมื่อมีการตรวจโดยใช้เครื่อง Ultrasound Diagnosis พบว่า นอกจากจะมีการอักเสบของ เอ็นกล้ามเนื้อ Biceps แล้วยังมีการเสื่อมของกล้ามเนื้อ กลุ่ม Rotator cuff ด้วย สำหรับเคสนี้การอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อBiceps เป็นการอักเสบเรื้อรังโดยเกิดจากการสะสมทีละเล็กละน้อย จนอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสื่อมของกล้ามเนื้อ (Degenerative) ซึ่งมาจากการใช้งานซ้ำๆอย่างต่อเนื่อง และอายุที่มากขึ้น นอกจากนี้บริเวณเส้นเอ็นเป็นบริเวณที่เลือดไปเลี้ยงน้อยเมื่อเทียบกับกล้ามเนื้อที่เลือดไปหล่อเลี้ยมาก กว่า ดังนั้นเมื่อเกิดการบาดเจ็บบริเวณเส้นเอ็นจึงใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวนาน

การรักษาทางกายภาพบำบัด ประกอบด้วย

·  การใช้ High power laser เพื่อลดปวด และเร่งกระบวนการซ่อมแซมเส้นเอ็นที่อักเสบอยู่

·  เมื่ออาการปวดบรรเทาลงแล้ว ให้ออกกำลังกายกล้ามเนื้อกลุ่ม Rotator cuff และกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่เพื่อสร้างความมั่นคงให้ข้อไหล่


วิธีการดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน

· หลีกเลี่ยงการยกของหนักทุกชนิด เพราะเมื่อมีการใช้งานแขนข้างที่ปวด จะเป็นการกระตุ้นให้เอ็นอักเสบมากยิ่งขึ้น

· ประคบเย็นบริเวณที่ปวด 15 นาที เพื่อลดอาการอักเสบ

ปวดไหล่ !! ระวังเส้นเอ็นขาด


Tips

ØBicipital groove คืออะไร Bicipital grooveคือ ร่องบนหัวกระดูกข้อไหล่ เป็นที่อยู่ของเอ็นกล้ามเนื้อ Biceps

Øกล้ามเนื้อ Biceps คืออะไร  Biceps หรือ Biceps brachiiคือกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการงอข้อศอก

Øดังนั้นเมื่อมีการใช้งานกล้ามเนื้อ Biceps โดยการงอศอกเหยียดศอกซ้ำๆกัน ทำให้เส้นเอ็นกล้ามเนื้อBiceps ไปเสียดสีกับร่องกระดูก Bicipital grooveจึงเกิดการอักเสบนั่นเอง

Øกล้ามเนื้อกลุ่ม Rotator cuff คืออะไรกล้ามเนื้อกลุ่ม Rotator cuffประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ 4 มัด มีหน้าที่ในการสร้างความมั่นคงให้กับข้อต่อหัวไหล่