เอ็นข้อไหล่ด้านหน้าอักเสบ (Subscapularis Tendinitis)
#Subscapularis_Tendinitis #ปวดข้อไหล่ #ยกแขนไม่ได้ #เจ็บด้านหน้าข้อไหล่
มาทำความรู้จักกับกล้ามเนื้อที่เรากำลังจะพูดถึงดีกว่า
กล้ามเนื้อนี้มีชื่อว่า "Subscapularis Muscle"
เป็นกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่
เกาะที่แอ่งของกระดูกสะบักด้านหน้า ไปเกาะที่กระดูกต้นแขน
ทำหน้าที่ในการหมุนข้อไหล่เข้าด้านใน
อยู่ในกลุ่มกล้ามเนื้อหมุนข้อไหล่ (Rotator Cuff Muscle) ได้แก่ Supraspinatus, Infraspinatus, Subscapularis และ Teres minor ซึ่งในกลุ่มนี้จะทำหน้าที่พยุงหัวกระดูกต้นแขน ให้อยู่ภายในเบ้าของข้อต่อไหล่ สร้างความมั่นคง และความแข็งแรงให้ข้อต่อไหล่
เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่และแข็งแรงที่สุดในกลุ่มกล้ามเนื้อหมุนข้อไหล่ (Rotator Cuff Muscle)
เป็นกล้ามเนื้อที่ใช้มากที่สุดของกล้ามเนื้อรอบหัวไหล่
สาเหตุ
เอ็นกล้ามเนื้อนี้เกิดการฉีกขาด และอักเสบ เนื่องมาจาก
มีการใช้งานซ้ำๆ เป็นเวลานานๆหรือมากเกินไป
มีการเคลื่อนไหวข้อไหล่เร็วและรุนแรง
มีการกระชากของแขน
งานที่ต้องแบกหาม ยกของหนัก
อาการ
มีอาการปวดบริเวณข้อไหล่โดยเฉพาะเวลายกหรือขยับ อาการเริ่มแรกอาจไม่รุนแรงมากแต่ถ้ายังมีการใช้งานต่อไป อาการปวดอาจรุนแรงมากขึ้น อาจปวดตอนกลางคืนหรือปวดตอนพักได้
มีบวมบริเวณไหล่
อาจมีอาการปวดร้าวลงไปบริเวณต้นแขนได้
อาจมีอาการเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ลำบาก
รู้สึกแขนล้าและไม่มีแรง
มุมการเคลื่อนไหว จะลดลง
ทำกิจกรรมบางอย่างได้ลำบากเช่นสระผม หวีผม เกาหลัง ติดกระดุมหรือรูดซิบที่อยู่ด้านหลัง
การรักษา มี 2 วิธีคือ การผ่าตัดและไม่ผ่าตัด
>>> การรักษาโดยวิธีการผ่าตัด
มีข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด
>>> การรักษาโดยวิธีการไม่ผ่าตัด
การพักและปรับเปลี่ยนการใช้งาน เช่น หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หลีกเลี่ยงงานที่ต้องยกแขนสูง
การทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ จะช่วยลดการอักเสบ ลดอาการบวมและอาการปวดได้
การฉีดยา (Prolotherapy Injection) คือฉีดกลูโคสเข้าไปที่บริเวณกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการอักเสบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเร่งกระบวนการฟื้นฟูและรักษาตามธรรมชาติ โดยจะใช้เครื่องอัลตราซาวน์ในการนำการฉีดยา เพิ่มความปลอดภัยและแม่นยำในการฉีด และลดความเสี่ยงการฉีดไปโดนเส้นประสาท
การทำกายภาพบำบัด เพื่อลดอาการปวด เพื่อเพิ่มมุมการเคลื่อนไหว การเพิ่มความแข็งแรงของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อรอบๆข้อไหล่

Shockwave Therapy
คือการรักษาด้วยคลื่นกระแทก
เป็นคลื่นกระแทกที่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนไปยังเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่มีการอักเสบหรือบาดเจ็บ เกิดการกระตุ้นบริเวณที่บาดเจ็บทำให้เร่งการซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อ ได้ด้วยตนเอง
High Power Laser therapy
เกิดการกระตุ้นปลายประสาท ยับยั้งกระบวนการปวด ลดอาการปวด บวม และอักเสบ นอกจากนี้เลเซอร์มีผลความร้อน ทำให้หลอดเลือดขยายตัว มีผลในการนำเลือดและออกซิเจนมาเลี้ยงเซลล์มากขึ้น เร่งการจำกัดของเสีย ช่วยลดการอักเสบ และที่สำคัญเลเซอร์มีจุดเด่นในการปรับพลังงานของเซลล์ (ATP) จากการกระตุ้นการขนส่งออกซิเจน และไมโตรคอนเดรีย ภายในเซลล์ให้รวดเร็วขึ้น ผลจาก ATP ที่มากขึ้นทำให้เซลล์มีการซ่อมแซมฟื้นฟูที่รวดเร็วมากขึ้น
Ultrasound therapy ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ เเละข้อต่อในชั้นลึก เร่งกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ โดยจะเพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่มควมยืดหยุ่นให้กับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ลดอาการปวดเเละการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
วิธีการออกกำลังกาย
1. ยืนตรง ข้อศอกแนบลำตัวและตั้งฉากกับพื้น ยืนห่างจากกำแพงเล็กน้อย ให้กำแพงอยู่ทางด้านข้างลำตัว แล้วค่อยๆออกแรงต้านกับกำแพง (เหมือนกำลังหมุนแขนออกจากลำตัว) ทำค้างไว้ นับ 1-10 แล้วค่อยๆผ่อนแรง ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง
2. ยืนตรง ข้อศอกแนบลำตัวและตั้งฉากกับพื้น ยืนห่างจากกำแพงเล็กน้อย ให้กำแพงอยู่ทางด้านในของลำตัว แล้วค่อยๆออกแรงต้านกับกำแพง (เหมือนกำลังหมุนแขนเข้าหาลำตัว) ทำค้างไว้ นับ 1-10 แล้วค่อยๆผ่อนแรง ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง
สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง
สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"
ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) 📲 061-801-2482 Line ID : @rehabcare