Skip to main content

เจ็บเอ็นร้อยหวาย

เดิน วิ่งแล้วเจ็บเอ็นร้อยหวาย เป็นอะไรกันแน่
Posted: July 13, 2021 By: adminrehabcare2 Categories:  Comment:  0

เอ็นร้อยหวายคืออะไร ???

เอ็นร้อยหวาย หรือ Achilles tendon คือ เส้นเอ็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรง มีขนาดใหญ่และหนาที่สุดของร่างกาย ที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อน่องที่อยู่ด้านหลังของขา กับกระดูกส้นเท้า (Calcaneus) มีผลในการเดิน วิ่ง กระดกข้อเท้าขึ้น-ลง หากเส้นเอ็นกล้ามเนื้อมีความตึงมากอาจทำให้เกิดการอักเสบได้ 

เอ็นร้อยหวายคืออะไร

การบาดเจ็บของเอ็นร้อยหวายแบ่งเป็น 2 ประเภท ตามส่วนของเส้นเอ็นที่บาดเจ็บ

 1. เอ็นร้อยหวายอักเสบที่เส้นเอ็น (Noninsertional Achilles Tendon) คือ เส้นใยของเอ็นร้อยหวายบริเวณตรงกลางเส้นเอ็นเริ่มมีการเสื่อม หรือเกิดการบาดเจ็บ ทำให้มีอาการบวม และเส้นเอ็นหนาตัวขึ้น โดยมักเกิดกับผู้ที่อายุน้อย หรือผู้ที่มีกิจกรรมเยอะๆ เช่น เดิน วิ่ง

เอ็นร้อยหวายอักเสบที่เส้นเอ็น

 2. เอ็นร้อยหวายอักเสบที่จุดเกาะเส้นเอ็น (Insertional Achilles Tendon) คือ การอักเสบของเส้นเอ็นร้อยหวายที่จุดยึดเกาะกับกระดูกส้นเท้า (Calcaneus) 

เอ็นร้อยหวายอักเสบที่จุดเกาะเส้นเอ็น

โดยการอักเสบของเอ็นร้อยหวายทั้ง 2 แบบสามารถทำให้เกิดแคลเซียมที่งอกมาบริเวณกระดูกส้นเท้าได้ แต่มักเกิดในการอักเสบของเอ็นร้อยหวายที่จุดเกาะเส้นเอ็นมากกว่า


สาเหตุของเอ็นรอยหวายอักเสบ

- ใช้งานเอ็นร้อยหวายอย่างหนักซ้ำๆ ทำให้เอ็นร้อยหวายตึงแข็ง และอักเสบได้

- การออกกำลังกายที่หนักและมากเกินไป โดยไม่เตรียมความพร้อมของร่างกาย เอ็นร้อยหวายขาดความยืดหยุ่น

- กล้ามเนื้อน่องตึง สามารถทำให้เกิดแรงเครียดต่อเอ็นร้อยหวาย ทำให้เกิดการอักเสบได้

- การเกิดกระดูงอกบริเวณกระดูกส้นเท้า ทำให้เกิดการเสียดสีกับเอ็นร้อยหวายทำให้เกิดอาการปวด และอักเสบได้

- อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬาที่ต้องเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วทำให้เอ็นร้อยหวายเกิดการฉีกขาด

สาเหตุของเอ็นรอยหวายอักเสบ


อาการอักเสบของเอ็นร้อยหวาย

- มีอาการปวดเจ็บ อักเสบ และบวม แดง บริเวณเอ็นร้อยหวาย อาการปวดอาจลามไปถึงกล้ามเนื้อน่องขา

- มีอาการเจ็บและฝืดบริเวณเอ็นร้อยหวายในตอนเช้า

- ปวดตามแนวเส้นเอ็นร้อยหวายหรือหลังส้นเท้า และจะแย่ลงเมื่อทำกิจกรรม เช่น เดิน วิ่ง

- ปวดมากในช่วงออกกำลังกาย และยังรู้สึกปวดมากขึ้นทั้งๆที่หยุดออกกำลังกาย

- กดเจ็บบริเวณเอ็นร้อยหวาย

- คลำได้เป็นตุ่ม ก้อน บริเวณเอ็นร้อยหวาย

- ถ้าได้ยินเสียงดัง "ป๊อป" บริเวณด้านหลังน่องหรือส้นเท้า อาจจะมีการฉีกขาดของเอ็นร้อยหวายได้


สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและนักกายภาพบำบัด 

สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"

ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare

 

เอ็นร้อยหวายอักเสบ ป้องกันและรักษาอย่างไร ???
Posted: July 12, 2021 By: adminrehabcare2 Categories:  Comment:  0

     สาเหตุการเกิดเอ็นร้อยหวายอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากการใช้งานซ้ำ และทำให้เกิดความเครียดต่อเส้นเอ็น เช่นการวิ่งที่มากเกินไป หรือวิ่งเพิ่มระยะทางและเวลาอย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ปล่อยให้ร่างกายสร้างความคุ้นเคยเพื่อปรับตัว ขาดการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่เพียงพอ กล้ามเนื้อน่องไม่แข็งแรง และตึงมากเมื่อออกกำลังกายทำให้เพิ่มแรงและความเครียดต่อเอ็นร้อยหวาย และนอกจากนี้ยังพบว่าคนที่มีกระดูกงอกบริเวณส้นเท้าจะทำให้เกิดการเสียดสีกับเอ้นร้อยหวายทำให้เกิดอาการปวด หรืออักเสบได้การรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบ


วิธีการรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบ

มีหลากหลายวิธี โดยจะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ผ่าตัดและไม่ผ่าตัด

1. รักษาโดยไม่ผ่าตัด

การรักษาเบื้องต้น ผู้ป่วยที่มีอาการเพียงเล็กน้อยและเกิดจากสาเหตุที่ไม่รุนแรง อาจบรรเทาอาการได้ด้วยการปฏิบัติตามหลัก RICE เพื่อช่วยลดอาการปวดบวมในเบื้องต้น ดังนี้

RICE

- Rest คือ การพัก โดยควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ก่อให้เกิดแรงต่อเส้นเอ็น และไม่ควรกดบริเวณนั้นจนกว่าอาการจะดีขึ้น หากผู้ป่วยสามารถลดแรงตึงตัวของเส้นเอ็นได้ จะทำให้อาการหายดีอย่างรวดเร็ว

- Ice คือ การใช้น้ำแข็งประคบ อาจใช้ถุงน้ำแข็งประคบบริเวณเส้นเอ็นที่อักเสบประมาณ 15-20 นาที โดยน้ำแข็งจะทำให้อาการบาดเจ็บและอาการบวมดีขึ้น

- Compression คือ การรัดด้วยผ้าพันแผล โดยรัดบริเวณเส้นเอ็นเพื่อลดอาการบวมและการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นบริเวณนั้น แต่ไม่ควรรัดผ้าพันแผลแน่นเกินไป เพราะอาจทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก

- Elevation คือ การยกเท้าสูงกว่าระดับหัวใจ โดยอาจนอนราบบนพื้นแล้วนำหมอนมาหนุนเท้า ซึ่งจะสามารถทำให้เลือดไหลเวียนกลับเข้าสู่หัวใจและลดอาการบวมได้

อย่างไรก็ตาม หากดูแลตนเองในเบื้องต้นแล้วอาการไม่ทุเลาลงหรือทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ผู้ป่วยอาจต้องไปพบแพทย์ ซึ่งอาจต้องใช้วิธีอื่น ๆ ในการรักษาร่วมด้วย ดังนี้

- การรักษาด้วยการทานยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เช่น Ibupofen Naproxen เพื่อลดอาการปวดและบวม

- การฉีดยาคอร์ติซอล (Cortisone injections) เป็นการฉีดสเตียรอยด์ เป็นยาต้านการอักเสบ แต่จะมีผลทำให้เอ็นอาจจะมีการฉีดขาดได้

- การฉีด glyceryl trinitrate patches, prolotherapy, and aprotinin injections

การฉีด glyceryl trinitrate patches, prolotherapy, and aprotinin injections

- การทำกายภาพบำบัด เป็นวิธีบำบัดรักษาด้วยใช้การออกกำลังกาย เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของเอ็นร้อยหวายที่อักเสบ หรือใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อลดอาการปวด

การทำกายภาพบำบัด

2. รักษาโดยการผ่าตัด

เมื่อผู้ป่วยรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ แล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือเสี่ยงต่อการเกิดเอ็นฉีกขาด แพทย์อาจต้องผ่าตัดเพื่อรักษาเอ็นร้อยหวายบริเวณดังกล่าว

วิธีการผ่าตัด

- percutaneous tenotomies

ข้อบ่งชี้ : ระดับน้อยถึงปานกลาง

วิธีการ : ผ่าตัด Achilles tendon ผ่านผิวหนังลงไป ทำให้เอ็นมีความยาวเพิ่มขึ้น เพื่อรักษาอาการปลายเท้าตก(Equinus feet)


- open excision of the degenerative tendon with tubularization

ข้อบ่งชี้ : ระดับปานกลางถึงรุนแรง


- tendon transfer (FHL, FDL, or PB)

ข้อบ่งชี้ : มีความเสื่อม >50% ของเอ็นร้อยหวาย, อายุมากกว่า 55 ปี และผล MRI บ่งชี้ว่ามีการหนาตัวของเอ็นร้อยหวาย


วิธีการป้องกันเอ็นร้อยหวายอักเสบ

o ยืดเหยียดร่างกายในตอนเช้าทุกวัน เพื่อยืดกล้ามเนื้อน่องและเอ็นร้อยหวาย และทำก่อนหรือหลังออกกำลังกายทุกครั้ง


o ออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อส่วนน่อง เพื่อเพิ่มความเเข็งแรง ลดความตึงเครียดของเอ็นร้อยหวาย และช่วยให้สามารถออกกำลังกายได้ดีขึ้น


o ปรับเปลี่ยนรองเท้าให้เหมาะสมเช่น หาแผ่นรองบริเวณส้นเท้ามาใส่ในรองเท้าเพื่อให้เอ็นร้อยหวายหย่อนตัวลง หรือใช้เป็นแผ่นรองบริเวณหลังเท้าที่ต้องเสียดสีกับขอบรองเท้า


o ปรับเปลี่ยนกิจกรรม งดเว้นการออกกำลังที่ต้องใช้เอ็นร้อยหวาย เช่น วิ่ง กระโดด หรือเดินทางไกล ให้หันไปใช้การออกกำลังที่ไม่ต้องใช้เอ็นร้อยหวาย เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน หรือเล่นกล้ามที่ไม่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อน่อง


วิธีการออกกำลังกาย

1. นำลูกบอล/ลูกเทนนิส  คลึงใต้ฝ่าเท้า 30-60 วินาที ทำ 5 รอบ

นำลูกบอล/ลูกเทนนิส  คลึงใต้ฝ่าเท้า 30-60 วินาที ทำ 5 รอบ

2. นั่งเอาผ้าคล้องที่ฝ่าเท้า แล้วออกแรงดึงเข้าหาตัว นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 5 รอบ 

นั่งเอาผ้าคล้องที่ฝ่าเท้า แล้วออกแรงดึงเข้าหาตัว

3. ยืดฝ่าเท้า โดยนำฝ่าเท้าวางตรงขั้นบันได หรืออิฐโยคะ  ดังรูป ยืนตัวตรง เหยียบให้มีความรู้สึกตึงๆ นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 5 รอบ 

 ยืดฝ่าเท้า

4. ยืนหันหน้าเข้ากำแพง งอเข่า ข้างใดข้างหนึ่ง ไปด้านหลัง ฝ่าเท้าราบติดกับพื้น ส่วนขาอีกข้างให้งอเข่าเล็กน้อย ทำค้างไว้นับ 15 วินาที 

แล้วกลับมายืนตรง ทำซ้ำ 3-5 รอบ

ยืนหันหน้าเข้ากำแพง งอเข่า

5.  ยืนหันหน้าเข้ากำแพง เหยียดเข่าข้างใดข้างหนึ่ง ไปด้านหลัง ฝ่าเท้าราบติดกับพื้น ส่วนขาอีกข้างให้เหยียดเข่า ทำค้างไว้นับ 15 วินาที แล้วกลับมายืนตรง ทำซ้ำ 3-5 รอบ 

ยืนหันหน้าเข้ากำแพง เหยียดเข่าข้างใดข้างหนึ่ง

6. ยืนตรง แล้วค่อยๆเขย่งปลายเท้าขึ้นและลงช้าๆ ทำ 15 ครั้ง/รอบ จำนวน 3 รอบ 

ยืนตรง แล้วค่อยๆเขย่งปลายเท้าขึ้นและลง

7. ใช้ Foam roller ที่บริเวณน่อง ทำการไถไป-มา ทำ 10 ครั้งต่อ1รอบ ทำ 3-5 รอบ แล้วสลับข้าง

ใช้ Foam roller ที่บริเวณน่อง

จะเห็นได้ว่า วิธีการดูแลตัวเองในเบื้องต้นนั้นง่าย แต่ถ้าไม่แน่ใจหรืออาการไม่ดีขึ้น สามารถปรึกษากับทางรีแฮปแคร์คลินิกได้โดยตรง โดยทางคลินิกมีแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และนักกายภาพบำบัด คอยแนะนำให้คำปรึกษาได้ตลอด

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare