ภาวะข้อไหล่ติด คือ ภาวะที่มีการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ พิสัยการเคลื่อนไหวข้อไหล่ลดลงทั้งแบบขยับเองและผู้อื่นขยับให้ โดยปกติเป็นโรคที่สามารถหายได้ แต่ใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน ส่วนใหญ่คนไข้มักจะทนอาการปวดไม่ได้โดยเฉพาะอาการปวดตอนกลางคืน
ภาวะไหล่ติดจะแบ่งได้ 3 ระยะ ดังนี้
ภาวะไหล่ห่อ (round shoulder) คอยื่น (forward head) หลังค่อม (hypokyphosis) หรือ “ Upper crossed syndrome ” จากงานวิจัยของ V Janda (2013) อธิบายไว้ว่า เป็นภาวะที่เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ไม่สมดุลกัน โดยกล้ามเนื้อบางส่วนไม่แข็งแรงและยืดยาวออก ในขณะที่กล้ามเนื้ออีกฝั่งมีการตึงตัวและหดสั้น ซึ่งพบว่ากล้ามเนื้อมัดลึกในการก้มคอ (deep cervical flexor) และกล้ามเนื้อบริเวณสะบัก (middle & lower trapezius, rhomboid, serratus anterior) มีการยืดยาวออก ร่วมกับกล้ามเนื้อคอ - บ่า (suboccipital, upper trapezius, levator scapulae) และกล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก (pectoralis major and mino
หัวไหล่เป็นหนึ่งในข้อต่อที่สำคัญของร่างกาย เคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง ข้อไหล่จึงเป็นหนึ่งในข้อต่อที่เคลื่อนไหวและถูกใช้ในการทำกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันของเรามากที่สุดข้อหนึ่ง โดยบริเวณหัวไหล่ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่างๆ ทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว และถ้าหากเราทำท่าทางการเคลื่อนไหวที่ผิด อาจเป็นการทำร้ายข้อไหล่โดยไม่รู้ตัว วันนี้เรามารู้จักท่าทางที่ผิดๆ ที่มักเผลอทำกันจนเป็นการทำร้ายข้อไหล่ และส่งผลให้เกิดโรคเกี่ยวกับอาการปวดไหล่หรืออันตรายถึงขึ้นเอ็นหัวไหล่ฉีกตามมา
อาการปวดข้อมือในคุณแม่หลังคลอด มักพบได้บ่อยกับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกตั้งแต่ช่วงหลังคลอดจนถึงช่วงวัยก่อนลูกน้อยเดินได้ ซึ่งเป็นช่วงที่คุณแม่ต้องอุ้มลูกเป็นเวลานาน จนทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณข้อมือ หรือที่เราเรียกกันว่า “โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ (De Quervain’s disease / โรคเดอกาแวง)” โดยจะมีอาการปวดบริเวณข้อมือและโคนนิ้วหัวแม่มือ และอาจจะมีปวดไปบริเวณแขนท่อนปลายได้ ซึ่งสาเหตุเกิดจากการใช้งานข้อมือหรือนิ้วหัวแม่มือลักษณะเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานจนเกิดการอักเสบขึ้น และหากยิ่งมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้มีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นได้