Skip to main content

ปวดโคนนิ้วโป้ง ติดมือถือ ใช้โทรศัพท์ทำงานเยอะ ต้องอ่าน!!

ปวดโคนนิ้วโป้ง ติดมือถือ ใช้โทรศัพท์ทำงานเยอะ ต้องอ่าน!!
Posted: January 16, 2024 By: adminrehabcare2 Categories:  ปวดข้อมือ Comment:  0

ในชีวิตประจำวันของเรา นิ้วโป้งหรือนิ้วหัวแม่มือ เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่ถูกใช้งานมากและใช้งานอยู่ตลอดเวลา ทั้งในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เล่นโทรศัพท์ ถือของ รวมถึงการทำงาน เพราะฉะนั้นจึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วโป้ง โดยโรคที่พบได้บ่อยนั้น ได้แก่

De Quervain’s disease หรือปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ เกิดจากการเสียดสีระหว่างเส้นเอ็นนิ้วโป้งด้านนอกและปลอกหุ้มเส้นเอ็น ทำให้ปลอกหุ้มเอ็นหนาตัวขึ้น และเกิดการอักเสบตามมา ส่งผลให้รู้สึกปวดขณะขยับนิ้วโป้งหรือข้อมือ บางครั้งแม้ไม่ได้มีการใช้งานก็มีอาการปวด พบได้บ่อยในคนที่ใช้งานข้อมือซ้ำๆ ขยับไปมาตลอดเวลา ทำให้มีอาการของโรคนี้ได้

วิธีการรักษาเบื้องต้น หากมีการอักเสบเกิดขึ้น 1 – 2 วันแรก หรือมีอาการปวด บวม แดง ร้อน สามารถประคบเย็นหรือแช่มือในน้ำเย็นเพื่อบรรเทาการอักเสบก่อน หลังจากนั้นดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ ดังนี้
1. แช่มือในน้ำอุ่นหรือประคบอุ่นด้วยแผ่นประคบอุ่นไฟฟ้าครั้งละ 10 - 15 นาที อย่างน้อย 2 - 3 รอบต่อวันพร้อมกับขยับยืดเหยียดนิ้วไปด้วย
2. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้งานนิ้วโป้งและข้อมือหนัก หรือเลี่ยงใช้งานซ้ำๆ
3. ใส่อุปกรณ์ support เช่น wrist - thumb support เพื่อช่วยป้องกันการขยับของนิ้วโป้ง

ภาพแสดง อุปกรณ์ประคองข้อมือ Wrist-thumb support

หากยังไม่ดีขึ้นภายใน 3 - 5 วัน หรือปวดมากจนใช้งานไม่ได้ ควรรีบพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อประเมินอาการและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม โดยหากใครยังไม่ต้องการผ่าตัด สามารถใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดเพื่อรักษาได้ เช่น Focus Shockwave, High Power Laser, Ultrasound Therapy, Electrical Stimulation เพื่อช่วยลดการอักเสบ ลดอาการปวด และกระตุ้นการซ่อมแซมเนื้อเยื่อได้ หรืออีกแนวทางคือการฉีดยาเพื่อช่วยลดอาการปวดและกระตุ้นการซ่อมแซม โดยใช้เกล็ดเลือดสกัดเข้มข้น (PRP) เพื่อให้เห็นผลเร็ว มีประสิทธิภาพและปลอดภัย

ทั้งนี้ส่วนที่สำคัญที่สุดคือการดูแลและป้องกันตัวเอง หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้งานนิ้วโป้งและข้อมือหนักๆ การขยับซ้ำๆใช้งานตลอดเวลา ต้องมีการพักการใช้งานบ้าง แต่หากไม่สามารถหยุดการใช้งานได้ควรยืดเหยียดนิ้วโป้งบ่อยๆ และแช่มือในน้ำอุ่นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการอักเสบที่รุนแรง