ในกลุ่มคนที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานๆ เช่น กลุ่มคนออฟฟิศ มักจะมีอาการเหล่านี้ได้บ่อย โดยจะสังเกตเห็นว่าในขณะนั่งทำงาน ลำตัวจะอยู่ห่างจากโต๊ะคอม ทำให้เราต้องเอื้อมมือไปพิมพ์งาน ทำให้แขนเราต้องอยู่ในลักษณะที่กล้ามเนื้อสะบักมีการทำงานเดิมๆซ้ำๆ จนทำให้กล้ามเนื้อมีการหดเกร็งแล้วไม่คลายตัว จนเกิดเป็นจุดเจ็บ (trigger point) ซึ่งส่งผลให้บ้างครั้งมีอาการร้าวลงไปที่แขนและมือได้
และบางรายมีอาการชาฝ่ามือในขณะนั่งทำงาน ซึ่งสาเหตุเกิดจากการจับเม้าส์ เป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้ข้อมือถูกกด ซึ่งทำให้เส้นประสาทที่ลอดผ่านข้อมือจะถูกกดไปด้วย ทำให้เรามีอาการชาที่ฝ่ามือได้ โดยลักษณะ อาการจะชานิ้วโป้ง ชี้ กลาง นางครึ่งนิ้ว เรียกว่าภาวะพังผืดทับเส้นประสาทที่มือ
ซึ่งทั้งสองอาการมักจะอาการคล้ายกัน เราสามารถทำการตรวจประเมินด้วยตนเองได้เองง่ายๆ คือให้นำหลังมือทั้งสองข้างชนกันเป็นเวลา 1 นาที ถ้ามีอาการชาบริเวณฝ่ามือ (นิ้วโป้ง ชี้ กลาง นางครึ่งนิ้ว) คือเป็นภาวะพังผืดทับเส้นประสาทที่มือ
- คลื่นกระแทก (Shockwave) : เป็นการส่งผ่านคลื่นกระแทกเข้าไปยังบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดกระบวนการซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมา
- เครื่องอัตราซาวน์ (Ultrasound therapy) : ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของเส้นเอ็นหรือเนื้อเยื่อ เร่งกระบวนการซ่อมแซม โดยจะเพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ลดอาการปวดเเละการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
- เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (TENS) : เป็นกระแสไฟฟ้ากระตุ้นประสาทผ่านผิวหนังเพื่อช่วยในการลดปวด
- เลเซอร์พลังงานสูง (High power laser therapy) : เกิดการกระตุ้นปลายประสาท ยับยั้งกระบวนการปวด ลดอาการปวด บวม และอักเสบ
- การออกกำลังกาย (Therapeutic exercise)
- ในกลุ่มคนที่มีภาวะกล้ามเนื้อสะบักอักเสบเรื้อรัง ควรนั่งให้ลำตัวใกล้กับแป้นพิมพ์หรือเม้าส์ โดยให้แขนอยู่ข้างลำตัวไม่เอื้อมแขน และมีแผ่นรองท่อนแขนเพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวมากเกินไป และยืดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ
- ในกลุ่มคนที่มีภาวะพังผืดทับเส้นประสาทที่มือ ควรหาฟองน้ำมารองบริเวณข้อมือเพื่อลดการกดทับเส้นประสาทและยืดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ
ท่ายืดกล้ามเนื้อสำหรับผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อสะบักอักเสบเรื้อรัง : โดยยกแขนข้างที่มีอาการตั้งฉากกับพื้น จากนั้นใช้แขนอีกข้างคล้องแขนข้างที่มีปัญหา ดึงไปให้ใกล้กับไหล่อีกข้าง รู้สึกตึงแต่ไม่เจ็บ ค้างไว้ 15 วินาที 4 ครั้งต่อรอบ 3 รอบต่อวัน
ท่ายืดกล้ามเนื้อสำหรับผู้ที่มีภาวะพังผืดทับเส้นประสาทที่มือ : โดยยกแขนข้างที่มีอาการตั้งฉากกับพื้น หงายมือขึ้น จากนั้นกระดกข้อมือลง รู้สึกตึงแต่ไม่เจ็บ ค้างไว้ 15 วินาที 4 ครั้งต่อรอบ 3 รอบต่อวัน
สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง
สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"
ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare
อาการนิ้วล็อคจะเกิดขึ้นเมื่อปลอกหุ้มเอ็นตรงนิ้วอักเสบหนาตัวขึ้น ซึ่งทำให้เอ็นและปลอกหุ้มเอ็นตรงนิ้วไม่สามารถยืดหรืองอได้ตามปกติ
- การหิ้วของหนักเกินไป เช่น หิ้วตะกร้า ถุงพลาสติก หรือ ถังน้ำ
- การบิดผ้าหรือซักผ้าด้วยมือเปล่าจำนวนมากๆ
- อาชีพหรือกิจกรรมที่ต้องใช้มือทำและทำให้มือรับน้ำหนักเป็นเวลานานและทำท่าเดิมซ้ำบ่อย ๆ เช่น ทำสวน ตัดแต่งต้นไม้ ใช้ไขควงทำงาน หรือใช้อุปกรณ์ที่ต้องออกแรงกด
- พบได้ทั่วไปในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
- เกิดขึ้นบ่อยที่สุดกับผู้ที่มีอายุ 40-60 ปี
- คนที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) โรคเกาต์ เบาหวาน เป็นต้น
- การเล่นกีฬาประเภท ตีกอล์ฟ การตีเทนนิส ซึ่งทำให้มีโอกาสเกิดนิ้วล็อคมากกว่ากีฬาประเภทอื่น
นิ้วล็อคมักเกิดขึ้นกับนิ้วโป้ง นิ้วกลาง หรือนิ้วนาง หรืออาจเกิดขึ้นกับนิ้วหลายนิ้วได้ในเวลาเดียวกัน โดยอาการนิ้วล็อคจะเกิดขึ้นเมื่อนิ้วใดนิ้วหนึ่งพยายามงอในขณะที่มือต้องออกแรงทำบางอย่าง เมื่อนิ้วล็อค อาจจะเกิดอาการดังต่อไปนี้
- รู้สึกดังกึก หรือฝืดเมื่อต้องงอหรือยืดนิ้ว
- เกิดอาการนิ้วแข็ง ซึ่งมักเกิดขึ้นตอนเช้ารู้สึกตึง
- มีก้อนนูนขึ้นมาตรงโคนของนิ้วที่ล็อค
- งอนิ้วสะดวก แต่เหยียดนิ้วลำบาก
- ในรายที่เป็นมานานจะพบการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เหยียดนิ้ว
ระดับที่ 1 : ปวดบริเวณโคนนิ้ว จากภาวะเส้นเอ็นอักเสบ รู้สึกฝืดเป็นบางครั้งเมื่อเหยียดงอนิ้วในช่วงตื่นนอนหรืออากาศเย็น แต่เมื่อขยับนิ้วมือไปสักพักก็จะกำมือได้สะดวกขึ้น
→ ทานยาแก้อักเสบ แช่น้ำอุ่น ทำกายภาพบำบัด
ระดับที่ 2 : รู้สึกฝืดทุกครั้งเมื่อขยับนิ้ว และเป็นมากเมื่อเหยียดนิ้วออกร่วมกับมีอาการปวด
→ ทำกายภาพบำบัด
ระดับที่ 3 : เหยียดนิ้วได้ยากมากขึ้น ต้องมืออีกข้างช่วยเหยียดนิ้วออก และมีเสียงดังป๊อกขณะเหยียดนิ้วออก
→ ทำกายภาพบำบัด ฉีดยา
ระดับที่ 4 : ถือว่าเป็นระดับที่รุนแรงที่สุด คือนิ้วจะงออยู่ไม่สามารถเหยียดนิ้วออกมาได้อีกเลย เนื่องจากปุ่มเส้นเอ็นมีขนาดใหญ่มากจนไม่สามารถรอดผ่านปลอกหุ้มเส้นเอ็นได้ และเมื่ออยู่ในท่างอนิ้วนานๆจะทำให้นิ้วมือเกิดการผิดรูปขึ้นตามมาในที่สุด
→ ฉีดยา ผ่าตัด
อาการนิ้วล็อคเป็นอาการที่รักษาได้และรักษาหายขาด แต่หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานๆ ข้อที่ค้างอยู่งอไม่ลงอาจจะทำให้มีข้อยึดและส่งผลให้เกิดข้อยึดติดถาวรถึงแม้จะทำการรักษาแล้วก็ตาม ดังนั้นไม่ควรปล่อยให้เกิดอาการในระยะที่ 3 หรือระยะที่ 4 ไว้เป็นเวลานานๆ
- ให้หยุดการใช้งานของนิ้วข้างที่ปวดโดยการดาม splint ที่นิ้วมือ เพื่อลดการใช้งานของนิ้วไม่ให้อาการปวดลุกลามจนนำไปสู่นิ้วล็อกสมบูรณ์
- หมั่นแช่นํ้าอุ่นทุกวัน เช้า-เย็น อย่างน้อยวันละ 15-20 นาที
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การเกร็งนิ้ว หรือทำกิจกรรมใดๆที่ทำให้นิ้วต้องเกิดการเสียดสี แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้แนะนำให้ใส่ถุงมือ
- หมั่นยืดเหยียดนิ้วมือทุกๆชั่วโมง เพื่อให้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อผ่อนคลายอาการปวดจะได้ทุเลาลง ตามท่าดังต่อไปนี้
1. วางมือลงบนพื้นราบ แล้วยกนิ้ว ทีละนิ้วขึ้นมา ไล่ไปให้ครบ 5 นิ้ว ทำซ้ำ 3-5 รอบ
2. ใช้หนังยางไว้ในมือดังภาพ แล้วค่อยๆกางนิ้วมือทั้ง 5 ออก ช้าๆ ทำ 10 ครั้ง 3 รอบ
3. ทำท่า OK แล้วค่อยๆเหยียดนิ้วออกช้าๆ ทำ 10 ครั้ง 3 รอบ
4. แบฝ่ามือ ค่อยๆงอนิ้วชี้ กลาง นาง ก้อยลง ช้าๆ จากนั้นค่อยๆกำมือ และค่อยๆคลายนิ้วโป้งช้าๆ ทำ 10 ครั้ง 3-5 รอบ ดังภาพ
5. ค่อยๆกำลูกบอลหรือลูกเทนนิสช้าๆ ทำ 10 ครั้ง 3-5 รอบ
การรักษาของทางรีแฮปแคร์คลินิก เรามีแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูวางโปรแกรมการรักษาร่วมกับนักกายภาพบำบัด เช่นใช้เลเซอร์พลังงานสูงเพื่อลดปวดและออกกำลังกายกล้ามเนื้อที่ผิดปกติเพื่อปรับโครงสร้างร่างกายให้แข็งแรงขึ้น การฉีด prolotherapy และวิตามินซึ่งขึ้นอยู่กับอาการ และความรุนแรงของโรค เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการซ่อมแซมตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด
หากมีข้อสงสัยสามารถปรึกษากับทางรีแฮปแคร์คลินิกได้โดยตรง โดยทางคลินิกมีแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และนักกายภาพบำบัด คอยแนะนำให้คำปรึกษาได้ตลอด
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare
Mouse และ Keyboard เป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งในการใช้งานคอมพิวเตอร์หรือการเล่นเกม การใช้เม้าส์และคีย์บอร์ดเป็นการเคลื่อนไหวข้อมือและนิ้ว ซ้ำๆ ส่งผลให้กล้ามเนื้อมัดเล็กที่ใช้เกิดอาการล้าจากการทำงานหนักเกินไป จึงเป็นเหตุให้มีอาการปวด เจ็บข้อมือ มีอาการชาที่นิ้วโป้งและนิ้วชี้ ซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นโรค Carpal Tunnel Syndrome (CTS)
เมื่อเรามีการกระดกข้อมือเป็นเวลานานๆ ก็จะทำให้มีการกดทับต่อตัวเส้นประสาท (Median nerve) ที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อมือ ส่งผลให้เกิดการปวด ชาและกล้ามเนื้อลีบตามมาได้
ดังนั้นการเลือกเม้าส์และคีย์บอร์ดอย่างถูกต้อง การจัดท่าทางอย่างเหมาะสม และระมัดระวังการใช้กล้ามเนื้อและร่างกายสามารถช่วยลดอัตราการเกิดการบาดเจ็บได้
1. Palm Grip
- การเคลื่อนเมาส์จะกระทำโดยข้อมือและปลายแขน
- มีข้อดีคือผู้จับเมาส์จะสามารถจับได้เป็นเวลานานโดยไม่เมื่อยมือ
2.Claw Grip
- การจับเมาส์แบบ Claw Grip มีข้อดีคือจะทำให้ผู้ใช้เมาส์ทำการคลิกได้เร็วขึ้นเนื่องจากแรงกดจะมาจากปลายนิ้วเพียงอย่างเดียวซึ่งจะออกแรงได้ง่ายกว่า
- การใช้ปลายนิ้วจับที่บริเวณตัวเมาส์จะทำให้การควบคุมทิศทางทำได้ง่ายขึ้น
- ผู้ที่จับเมาส์แบบ Claw Grip มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการเมื่อยที่นิ้วมือได้ง่ายกว่าแบบ Palm Grip
3.Fingertip Grip
- เป็นการจับแบบที่จะไม่ใช้ฝ่ามือสัมผัสกับตัวเมาส์ แต่จะใช้ปลายนิ้วทั้ง 5 ในการจับ เช่นเดียวกับการเลื่อนเมาส์ที่จะใช้แค่ปลายนิ้วเท่านั้นในการควบคุมทิศทาง
- การจับเมาส์แบบนี้ทำให้ผู้จับสามารถเลื่อนเมาส์ได้เร็วกว่าการจับเมาส์แบบอื่น
- ข้อเสียคือจะทำให้ผู้ใช้รู้สึกเมื่อยมือได้ง่ายที่สุดเมื่อเทียบกับการจับเมาส์แบบอื่น
ลำดับตามความเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บของท่าการจับเม้าส์ เรียงจากความเสี่ยงต่ำไปสูง คือ Palm Grip < Claw Grip < Fingertip Grip
***ท่าที่ดีที่สุด คือ ท่าที่ 1 Palm Grip เป็นท่าที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดการบาดเจ็บของข้อมือ***
แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะป้องกันการบาดเจ็บจากการใช้เม้าส์นั้นคือ
1. ควรจะจับเม้าส์ให้ข้อมืออยู่ในท่าตรงปกติ ไม่กระดกข้อมือขึ้น
2. ควรหาผ้าขนหนูม้วนวางรองใต้ข้อมือ หรือแผ่นรองเม้าส์ที่มีเจลหรือโฟม รองรับบริเวณข้อมือ
3. เลือกขนาดของเม้าส์ให้เหมาะสมพอดีกับมือจะหนุนส่วนโค้งของมือ เม้าส์ที่ใหญ่กว่าฝ่ามือทำให้คุณต้องใช้กล้ามเนื้อแขนที่ใหญ่กว่า มากกว่าที่จะใช้กล้ามเนื้อข้อมือที่เล็กกว่า ซึ่งจะทำให้เกิดอาการอ่อนล้าและเกิดโรคกระดูกผิดรูป
แป้นพิมพ์ปกติจะบังคับให้ข้อมือเรามีการเบี่ยงออกเล็กน้อย(ปลายนิ้วมือชี้ออกด้านนอก) ทำให้ข้อไหล่ของเรามีการหมุนเข้าด้านใน ส่งผลให้มีแรงกดไปอยู่ที่บริเวณปลายแขนและข้อมือ ส่งผลทำให้เกิดการบาดเจ็บที่บริเวณข้อมือได้
ดังนั้นเราควรจะหาผ้าขนหนูม้วนมารองบริเวณข้อมือเพื่อปรับให้ข้อมืออยู่ในแนวปกติ ลดแรงกดบริเวณข้อมือ
1. Rest : พักการใช้งาน จำไว้ทุกครั้งร่างกายต้องการพัก แนะนำให้ตั้งเวลาทุกๆ 45 นาที - 1 ชั่วโมง ให้พักการใช้งาน 5-10 นาที
2. Stretch&Strength : เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนี้
2.1 ท่ากล้ามเนื้อท้องแขนท่อนล่าง
วิธีทำ : เหยียดข้อศอกให้สุด กระดกข้อมือขึ้น ใช้มืออีกข้างดันมือเข้าหาลำตัวจนรู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง เมื่อครบแล้วสลับข้าง
2.2 ท่ากล้ามเนื้อหลังแขนท่อนล่าง
วิธีทำ : เหยียดข้อศอกให้สุด คว่ำและกดข้อมือลง ใช้มืออีกข้างดันมือเข้าหาลำตัวจนรู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง เมื่อครบแล้วสลับข้าง
2.3 ท่าบีบมือ
วิธีทำ : บีบลูกบอลและปล่อย ทำ 15 ครั้ง/ชุด 3ชุดต่อวัน เมื่อครบแล้วสลับข้าง
2.4 ท่าคว่ำมือและกระดกข้อมือขึ้น
วิธีทำ : แขนวางบนโต๊ะในท่าคว่ำมือ และยื่นออกมาเล็กน้อย ถือขวดน้ำ และค่อยๆกระดกข้อมือขึ้น (ท่าบิดรถจักรยานยนต์) ทำ 15 ครั้ง/ชุด 3ชุดต่อวัน เมื่อครบแล้วสลับข้าง
2.5 ท่าหงายมือและกระดกข้อมือขึ้น
วิธีทำ : แขนวางบนโต๊ะในท่าหงายมือ และยื่นออกมาเล็กน้อย ถือขวดน้ำ และค่อยๆกระดกข้อมือขึ้น ทำ 15 ครั้ง/ชุด 3ชุดต่อวัน เมื่อครบแล้วสลับข้าง
ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม หากมีอาการปวด ชา ควรไปพบแพทย์และนักกายภาพบำบัด เพื่อเข้ารับการประเมินสาเหตุและได้รับการรักษาที่เหมาะสม
สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"
ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare
กลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณข้อมือ (carpal tunnel syndrome) หนึ่งในกลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) กลุ่มอาการที่พบบ่อย เกิดขึ้นกับกลุ่มคนวัยทำงานที่มีลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงต่อวัน หรืออยู่ในท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องนานๆ
- ปวด ชาฝ่ามือและนิ้วมือ โดยเฉพาะนิ้วโป้ง ชี้ กลาง และนิ้วนางครึ่งนิ้ว อาจรู้สึกเหมือนถูกไฟช็อต
- ปวดมากตอนกลางคืนหรือตื่นนอนตอนเช้า
- เมื่อยล้าง่ายเมื่อมีการพิมพ์คอม เขียนหนังสือ หยิบจับโทรศัพท์มือถือ อ่านหนังสือ ขับรถยนต์
- เมื่อสะบัดข้อมืออาการปวด ชาจะทุเลาลง
- เมื่อเป็นนานๆกล้ามเนื้อมือก็จะมีการอ่อนแรง และกล้ามเนื้อลีบ การรับความรู้สึกของมือจะลดลง
- พันธุกรรม โดยผู้ที่มีข้อมือเล็ก เช่น ผู้หญิง เสี่ยงต่อการบีบอัดหรือกดทับเส้นประสาทมีเดียนสูง
- ความผิดปกติด้านโครงสร้าง เช่น ข้อมือหักหรือเคลื่อน ซึ่งอาจทำให้เส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับได้
- การใช้งานมือและข้อมือที่ไม่เหมาะสม โดยผู้ที่เคลื่อนไหวมือกับข้อมือในลักษณะเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน การใช้งานคอมพิวเตอร์ และการงอข้อมือซ้ำ ๆ
- เส้นประสาทถูกทำลายจากโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีเส้นประสาทมือถูกทำลายมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็น Carpal Tunnel Syndrome
- การอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณข้อมือ เช่น ข้อมืออักเสบ ซึ่งมีผลต่อเยื่อบุรอบเอ็นยึดข้อมือ และอาจทำให้เส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับ
- ภาวะอ้วน เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เส้นประสาทข้อมือถูกบีบอัดหรือรับแรงกดจนเกิด Carpal Tunnel Syndrome ได้เช่นกัน
- การเกิดของเหลวคั่งในร่างกาย ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน จนทำให้เส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับ
- ภาวะอื่น ๆ เช่น โรคไฮโปไทรอยด์ ความผิดปกติของต่อมใต้สมอง และไตวาย
แพทย์จะวินิจฉัยจากการซักประวัติ เพื่อทำการแยกโรคที่เป็นสาเหตุ ร่วมกับการตรวจร่างกายเพิ่มเติม ด้วยวิธีอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ ดังนี้
1. การทดสอบพิเศษ (Provocation test)
1.1 Phalen’s test: ให้ผู้ป่วยวางข้อศอกบนโต๊ะ หลังจากนั้นให้อยู่ในท่า fully flexion of wrist ทิ้งไว้ประมาณ 1 นาที หากมีอาการชาขึ้นมาตาม median nerve distribution จะให้ผล positive
1.2 Tinel’s sign: ให้ผู้ตรวจเคาะลงบริเวณ median nerve ส่วนใหญ่คือ proximal ต่อ distal wrist crease ประมาณ 0.5-1 cm ระหว่าง flexor carpi radialis และ palmaris longus หากเคาะแล้วผู้ป่วยมีภาวะปวดหรือความรู้สึกไฟช๊อตตาม median nerve distribution จะถือว่า positive
2. การตรวจการนำไฟฟ้าของเส้นประสาท(Electrodiagnosis) เป็นการช่วยยืนยันในการวินิจฉัย และพยากรณ์โรค
3. การตรวจด้วยรังสีวิทยา
- เอกซเรย์ (X-ray) เพื่อดูโครงสร้างของมือ ด้วยการฉายภาพรังสี ซึ่งช่วยคัดกรอง โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือจากโรคอื่นๆ เช่นข้ออักเสบ เอ็นยึดบาดเจ็บ และกระดูกหัก
- อัลตราซาวด์ (Ultrasound diagnosis) เพื่อวิเคราะห์การบีบอัดของเส้นประสาทมีเดียน ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
- การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Magnetic Resonance Imaging (MRI) เพื่อดูเนื้อเยื่อบริเวณเส้นประสาทมีเดียนที่ผิดปกติ จากการสแกนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นแผลเป็นจากการบาดเจ็บ หรือเนื้องอกบริเวณข้อมือ
1. การรักษาด้วยยารับประทาน จำพวกวิตามินบี ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID)
2. การรักษาด้วยยาฉีดเฉพาะที่จำพวกสเตียรอยด์ (Steroid) เข้าไปในช่องลอดของฝ่ามือ เพื่อลดการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบเส้นประสาท
3. การรักษาโดยการใส่กายอุปกรณ์ เพื่อพักการเคลื่อนไหวของข้อมือ เพราะถ้าข้อมืองอหรือกระดูกขึ้น จะทำให้เกิดการเพิ่มแรงดันภายในช่องลอด ความดันที่เพิ่มขึ้นจะไปกดหลอดเลือดเล็กๆ ของเส้นประสาท ทำให้เลือดไปเลี้ยงเส้นประสาทน้อยลง
4. การทำกายภาพบำบัด โดยการรักษาจะใช้เครื่องHigh power laser อัลตร้าซาวด์ ประคบร้อนเพื่อคลายพังผืดที่ทับเส้นประสาท การขยับข้อต่อของข้อมือ การยืดกล้ามเนื้อ เป็นต้น
5. การผ่าตัด โดยการตัดเยื่อพังผืดส่วนผนังทางด้านฝ่ามือของช่องลอดที่คลุมเส้นประสาท เพื่อขยายปริมาตรของช่องลอด และลดความดันภายในช่องลอด
- พักการใช้งานของมือ หรือระหว่างการทำงาน โดยเฉพาะหากต้องทำงานกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่สั่นและต้องใช้แรงมาก ควรพักมือเป็นระยะ โดยยืดกล้ามเนื้อข้อมือและแขน ขยับข้อมือเบาๆ
- ถ้าทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หรือต้องพิมพ์งานบ่อยๆ ควรหาแผ่นเม้าส์ที่มีเจลสำหรับรองข้อมือ เมื่อใช้เม้าส์ และผ้านุ่มๆ หรือฟองนํ้ามารองข้อมือขณะพิมพ์แป้นคีย์บอร์ด
- หลีกเลี่ยงการนอนทับมือ และสวมเฝือกข้อมือในเวลากลางคืน
- ประคบอุ่น/แช่น้ำอุ่น 15-20 นาที
-ที่สำคัญที่สุด ควรไปพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆเพื่อทำการตรวจรักษา และร่วมกับการทำกายภาพบำบัด จะเป็นการรักษาที่ดีโดยไม่ต้องผ่าตัด
สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"
ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare