Skip to main content

เอ็นร้อยหวาย

เอ็นร้อยหวายอักเสบ ป้องกันและรักษาอย่างไร ???
Posted: July 12, 2021 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

     สาเหตุการเกิดเอ็นร้อยหวายอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากการใช้งานซ้ำ และทำให้เกิดความเครียดต่อเส้นเอ็น เช่นการวิ่งที่มากเกินไป หรือวิ่งเพิ่มระยะทางและเวลาอย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ปล่อยให้ร่างกายสร้างความคุ้นเคยเพื่อปรับตัว ขาดการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่เพียงพอ กล้ามเนื้อน่องไม่แข็งแรง และตึงมากเมื่อออกกำลังกายทำให้เพิ่มแรงและความเครียดต่อเอ็นร้อยหวาย และนอกจากนี้ยังพบว่าคนที่มีกระดูกงอกบริเวณส้นเท้าจะทำให้เกิดการเสียดสีกับเอ้นร้อยหวายทำให้เกิดอาการปวด หรืออักเสบได้การรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบ


วิธีการรักษาเอ็นร้อยหวายอักเสบ

มีหลากหลายวิธี โดยจะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ผ่าตัดและไม่ผ่าตัด

1. รักษาโดยไม่ผ่าตัด

การรักษาเบื้องต้น ผู้ป่วยที่มีอาการเพียงเล็กน้อยและเกิดจากสาเหตุที่ไม่รุนแรง อาจบรรเทาอาการได้ด้วยการปฏิบัติตามหลัก RICE เพื่อช่วยลดอาการปวดบวมในเบื้องต้น ดังนี้

RICE

- Rest คือ การพัก โดยควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ก่อให้เกิดแรงต่อเส้นเอ็น และไม่ควรกดบริเวณนั้นจนกว่าอาการจะดีขึ้น หากผู้ป่วยสามารถลดแรงตึงตัวของเส้นเอ็นได้ จะทำให้อาการหายดีอย่างรวดเร็ว

- Ice คือ การใช้น้ำแข็งประคบ อาจใช้ถุงน้ำแข็งประคบบริเวณเส้นเอ็นที่อักเสบประมาณ 15-20 นาที โดยน้ำแข็งจะทำให้อาการบาดเจ็บและอาการบวมดีขึ้น

- Compression คือ การรัดด้วยผ้าพันแผล โดยรัดบริเวณเส้นเอ็นเพื่อลดอาการบวมและการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นบริเวณนั้น แต่ไม่ควรรัดผ้าพันแผลแน่นเกินไป เพราะอาจทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก

- Elevation คือ การยกเท้าสูงกว่าระดับหัวใจ โดยอาจนอนราบบนพื้นแล้วนำหมอนมาหนุนเท้า ซึ่งจะสามารถทำให้เลือดไหลเวียนกลับเข้าสู่หัวใจและลดอาการบวมได้

อย่างไรก็ตาม หากดูแลตนเองในเบื้องต้นแล้วอาการไม่ทุเลาลงหรือทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ผู้ป่วยอาจต้องไปพบแพทย์ ซึ่งอาจต้องใช้วิธีอื่น ๆ ในการรักษาร่วมด้วย ดังนี้

- การรักษาด้วยการทานยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เช่น Ibupofen Naproxen เพื่อลดอาการปวดและบวม

- การฉีดยาคอร์ติซอล (Cortisone injections) เป็นการฉีดสเตียรอยด์ เป็นยาต้านการอักเสบ แต่จะมีผลทำให้เอ็นอาจจะมีการฉีดขาดได้

- การฉีด glyceryl trinitrate patches, prolotherapy, and aprotinin injections

การฉีด glyceryl trinitrate patches, prolotherapy, and aprotinin injections

- การทำกายภาพบำบัด เป็นวิธีบำบัดรักษาด้วยใช้การออกกำลังกาย เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของเอ็นร้อยหวายที่อักเสบ หรือใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อลดอาการปวด

การทำกายภาพบำบัด

2. รักษาโดยการผ่าตัด

เมื่อผู้ป่วยรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ แล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือเสี่ยงต่อการเกิดเอ็นฉีกขาด แพทย์อาจต้องผ่าตัดเพื่อรักษาเอ็นร้อยหวายบริเวณดังกล่าว

วิธีการผ่าตัด

- percutaneous tenotomies

ข้อบ่งชี้ : ระดับน้อยถึงปานกลาง

วิธีการ : ผ่าตัด Achilles tendon ผ่านผิวหนังลงไป ทำให้เอ็นมีความยาวเพิ่มขึ้น เพื่อรักษาอาการปลายเท้าตก(Equinus feet)


- open excision of the degenerative tendon with tubularization

ข้อบ่งชี้ : ระดับปานกลางถึงรุนแรง


- tendon transfer (FHL, FDL, or PB)

ข้อบ่งชี้ : มีความเสื่อม >50% ของเอ็นร้อยหวาย, อายุมากกว่า 55 ปี และผล MRI บ่งชี้ว่ามีการหนาตัวของเอ็นร้อยหวาย


วิธีการป้องกันเอ็นร้อยหวายอักเสบ

o ยืดเหยียดร่างกายในตอนเช้าทุกวัน เพื่อยืดกล้ามเนื้อน่องและเอ็นร้อยหวาย และทำก่อนหรือหลังออกกำลังกายทุกครั้ง


o ออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อส่วนน่อง เพื่อเพิ่มความเเข็งแรง ลดความตึงเครียดของเอ็นร้อยหวาย และช่วยให้สามารถออกกำลังกายได้ดีขึ้น


o ปรับเปลี่ยนรองเท้าให้เหมาะสมเช่น หาแผ่นรองบริเวณส้นเท้ามาใส่ในรองเท้าเพื่อให้เอ็นร้อยหวายหย่อนตัวลง หรือใช้เป็นแผ่นรองบริเวณหลังเท้าที่ต้องเสียดสีกับขอบรองเท้า


o ปรับเปลี่ยนกิจกรรม งดเว้นการออกกำลังที่ต้องใช้เอ็นร้อยหวาย เช่น วิ่ง กระโดด หรือเดินทางไกล ให้หันไปใช้การออกกำลังที่ไม่ต้องใช้เอ็นร้อยหวาย เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน หรือเล่นกล้ามที่ไม่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อน่อง


วิธีการออกกำลังกาย

1. นำลูกบอล/ลูกเทนนิส  คลึงใต้ฝ่าเท้า 30-60 วินาที ทำ 5 รอบ

นำลูกบอล/ลูกเทนนิส คลึงใต้ฝ่าเท้า 30-60 วินาที ทำ 5 รอบ

2. นั่งเอาผ้าคล้องที่ฝ่าเท้า แล้วออกแรงดึงเข้าหาตัว นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 5 รอบ 

นั่งเอาผ้าคล้องที่ฝ่าเท้า แล้วออกแรงดึงเข้าหาตัว

3. ยืดฝ่าเท้า โดยนำฝ่าเท้าวางตรงขั้นบันได หรืออิฐโยคะ  ดังรูป ยืนตัวตรง เหยียบให้มีความรู้สึกตึงๆ นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 5 รอบ 

 ยืดฝ่าเท้า

4. ยืนหันหน้าเข้ากำแพง งอเข่า ข้างใดข้างหนึ่ง ไปด้านหลัง ฝ่าเท้าราบติดกับพื้น ส่วนขาอีกข้างให้งอเข่าเล็กน้อย ทำค้างไว้นับ 15 วินาที 

แล้วกลับมายืนตรง ทำซ้ำ 3-5 รอบ

ยืนหันหน้าเข้ากำแพง งอเข่า

5.  ยืนหันหน้าเข้ากำแพง เหยียดเข่าข้างใดข้างหนึ่ง ไปด้านหลัง ฝ่าเท้าราบติดกับพื้น ส่วนขาอีกข้างให้เหยียดเข่า ทำค้างไว้นับ 15 วินาที แล้วกลับมายืนตรง ทำซ้ำ 3-5 รอบ 

ยืนหันหน้าเข้ากำแพง เหยียดเข่าข้างใดข้างหนึ่ง

6. ยืนตรง แล้วค่อยๆเขย่งปลายเท้าขึ้นและลงช้าๆ ทำ 15 ครั้ง/รอบ จำนวน 3 รอบ 

ยืนตรง แล้วค่อยๆเขย่งปลายเท้าขึ้นและลง

7. ใช้ Foam roller ที่บริเวณน่อง ทำการไถไป-มา ทำ 10 ครั้งต่อ1รอบ ทำ 3-5 รอบ แล้วสลับข้าง

ใช้ Foam roller ที่บริเวณน่อง

จะเห็นได้ว่า วิธีการดูแลตัวเองในเบื้องต้นนั้นง่าย แต่ถ้าไม่แน่ใจหรืออาการไม่ดีขึ้น สามารถปรึกษากับทางรีแฮปแคร์คลินิกได้โดยตรง โดยทางคลินิกมีแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และนักกายภาพบำบัด คอยแนะนำให้คำปรึกษาได้ตลอด

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare 

ปวดฝ่าเท้า เกี่ยวข้องอะไรกับเท้าแบน ???
Posted: July 09, 2021 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

ปวดฝ่าเท้า เกี่ยวข้องอะไรกับเท้าแบน ???ปวดฝ่าเท้า เกี่ยวข้องอะไรกับเท้าแบน ???


ผู้ป่วยชายไทย อายุ 49 ปี มาด้วยอาการปวดฝ่าเท้าข้างขวา และเจ็บบริเวณใต้ตาตุ่มด้านในของเท้าข้างขวา เป็นมาประมาณ 5 เดือน จะมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อมีการลงน้ำหนัก เช่นยืน เดิน เป็นต้น โดยสอบถามจากประวัติพบว่าลักษณะงานของผู้ป่วยจะมีการยืน เดิน อยู่ตลอดเวลา

การตรวจร่างกายในผู้ป่วยรายนี้พบว่า

1. ฝ่าเท้ามีลักษณะแบน โดยที่ข้างขวาจะแบนกว่าข้างซ้าย

2. พบอาการบวมจากการอักเสบที่บริเวณ Tibialis posterior tendon

3. เมื่อทำการเคลื่อนไหว ไปในทิศทางกระดกปลายเท้าขึ้น ถีบปลายเท้าลง หมุนปลายเท้าเข้าด้านใน หมุนปลายเท้าออกทางด้านนอก พบว่ามีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น

4. พบจุดกดเจ็บบริเวณใต้ตาตุ่มด้านในของเท้าขวา และบริเวณหน้าแข้งด้านใน

ในผู้ป่วยรายนี้อาจจะมีอาการปวดของ Tibialis posterior tendon มาก่อน จึงส่งผลให้เกิดภาวะเท้าแบนตามมา โดยหน้าที่หลักของเอ็นกล้ามเนื้อ คือการถีบปลายเท้าลง (plantar flexion) และหมุนส้นเท้าเข้าด้านใน (inversion) ซึ่งกล้ามเนื้อนี้ยังมีหน้าที่สำคัญคือ เป็น Dynamic stabilizer ของอุ้งเท้า ทำให้อุ้งเท้ายกสูงขึ้น แต่เมื่อใดที่กล้ามเนื้อนี้มีอาการบาดเจ็บ ทำงานได้ไม่เต็มที่ ก็จะทำให้อุ้งเท้ามีลักษณะที่แบนตามมา และเมื่อผู้ป่วยมีการเดินลงน้ำหนัก

ในขณะที่ยังมีอาการบาดเจ็บของเอ็นกล้ามเนื้อนี้อยู่ จะทำให้เท้าบริเวณส่วนหน้ามีการปัดออกไปทางด้านนอก (forefoot abduction) ส้นเท้าบิดออกไปทางด้านนอก (hindfoot valgus) และกระดูก talus เทลงด้านใน เป็นผลให้อุ้งเท้าด้านในนั้นก็จะหายไป น้ำหนักที่ลงจึงลงผิดจุดทำให้มีการไปยืดต่อตัวเอ็นกล้ามเนื้อนี้อีก ทำให้ผู้ป่วยยังคงมีอาการปวดอยู่เรื่อยๆ


วิธีการรักษาทางกายภาพบำบัด       

- High laser power

- TENS กระตุ้นไฟฟ้าลดปวด

- Ultrasound 

- Stretching & Exercise

High laser powerTENS กระตุ้นไฟฟ้าลดปวด

 


วิธีการออกกำลังกาย

1. นั่งเอาผ้าคล้องที่ฝ่าเท้า แล้วออกแรงดึงเข้าหาตัว นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 5 รอบ

นั่งเอาผ้าคล้องที่ฝ่าเท้า

2. ยืนเขย่งปลายเท้าขึ้นและลง โดยหนีบลูกบอลลูกเล็กๆ
หากมีอาการปวดให้เปลี่ยนเป็นทำในท่านั่งแทน ทำ 10-15 ครั้ง/ชุด จำนวน 3 ชุด

ยืนเขย่งปลายเท้าขึ้นและลง

3. นั่งเท้าวางบนพื้น แล้วใช้ยางยืดดึงไว้ทางด้านนอก
ออกแรงหมุนฝ่าเท้ากลับเข้ามาทางด้านใน ทำ 10-15 ครั้ง/ชุด จำนวน 3 ชุด

นั่งเท้าวางบนพื้น


วิธีการดูแลตนเอง

นอกจากการออกกำลังกายแล้ว การเลือกรองเท้า หรือ แผ่นรองรองเท้า เป็นสิ่งที่สำคัญในการรองรับการลงน้ำหนักของโครงสร้างเท้าแบนที่เป็นอยู่แล้วเพื่อให้การทำงานของกล้ามเนื้อเท้าและขาถูกต้อง เพื่อป้องกันผลเสียระยะยาวที่จะตามมา 


เราจะแบ่งประเภทเท้าแบนอย่างไร ? 

แบบการทดสอบเท้าแบนอย่างง่าย ใช้การทดสอบที่เรียกว่า Jack Test  

วิธีการทดสอบ : โดยให้ยกนิ้วโป้งเท้าขึ้นทั้ง 2 ข้าง
1. ถ้ายกแล้วมีอุ้งเท้า ตามรูป เรียกได้ว่าเป็นเท้าแบนแบบยืดหยุ่น Functional Flatfoot 
2. ถ้ายกแล้วไม่มีอุ้งเท้า ตามรูป เรียกได้ว่าเป็นเท้าแบนโดยโครงสร้าง Nonfunctional Flatfoot


ประเภทของเท้าแบนและวิธีการรักษา

1. เท้าแบนโดยโครงสร้าง (Nonfunctional Flatfoot )

การใส่รองเท้าที่เสริมอุ้งเท้าจะทำให้เกิดการบาดเจ็บ การรักษาทำได้โดยการฝ่าตัด และการเลือกใส่รองเท้าที่มีพื้นรองเท้ากว้างและความนุ่มสบายเท้า

2. เท้าแบนแบบยืดหยุ่น (Functional Flatfoot )

การเลือกใส่รองเท้าที่มีการเสริมความโค้งของอุ้งเท้า แต่ในทางการรักษาจะทำได้โดยการทำแผ่นรองในรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเฉพาะบุคคลเพื่อรองรับกระดูกเท้าพร้อมกับการเสริมอุ้งเท้า รวมทั้งการพลิกมุมกระดูก กล้ามเนื้อเท้า เอ็นร้อยหวาย และกล้ามเนื้อน่อง ให้อยู่ในแนวเส้นตรง จะช่วยให้เวลายืนหรือเดิน ข้อเท้าจะอยู่ในแนวเส้นตรง และหากใส่เป็นประจำ จะสามารถสร้างให้อุ้งเท้ามีกลับมาได้และกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องทำงานได้อย่างเหมาะสม


แผ่นรองในรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเท้าแบน

1. แผ่นลดการลงน้ำหนักที่จมูกเท้า (Metatarsal Pad)

เนื่องจากคนเท้าแบนส่วนใหญ่มีอุ้งเท้าที่แบนราบ และแนวการเดินของเท้าที่มีแนวแรงการลงน้ำหนักค่อนเข้ามาทางฝั่งด้านในมากกว่าปกติ จึงเป็นผลให้จมูกเท้าที่ 1-3 (1st – 3rd Metatarsal Head) มีการลงน้ำหนักที่มากกว่าปกติ การเสริมแผ่นลดการลงน้ำหนักที่จมูกเท้า (Metatarsal Pad) จะเป็นการลดแรงกระทำต่อจมูกเท้าและกระจายแนวแรงที่เกิดขึ้นไปบริเวณกระดูกส่วนกลางเท้า (neck and shaft of Metatarsal Bones) 

2. เสริมอุ้งเท้าฝั่งด้านใน (Medial Arch Support)

เพื่อดันเพิ่มให้เกิดกล้ามเนื้อของอุ้งเท้าและโครงสร้างกระดูกเท้าที่ปกติ และ ป้องกันการแบนล้มของอุ้งเท้าเข้ามาทางฝั่งด้านในในช่วงการยืนและเดิน

3. เสริมลิ่มฝั่งด้านในของส้นเท้าเพื่อพลิกตะแคงส้นเท้าให้อยู่ในมุมที่ปกติ (Supinator Posterior Wedge)

เพื่อแก้ไขและป้องกันการตะแคงล้มเข้ามาทางฝั่งด้านในของกระดูกส้นเท้า ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาเท้าแบนและแนวเท้าที่ผิดปกติ โดยการยกให้กระดูกส้นเท้าฝั่งด้านในให้หงายขึ้น

แผ่นรองในรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเท้าแบน