อาการปวดเข่าเป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกช่วงวัย เนื่องจากเข่าเป็นฐานรองรับน้ำหนักของร่างกายและยังใช้เคลื่อนไหวในกิจกรรมส่วนใหญ่ ทั้งการเดิน วิ่ง การนั่งขัดสมาธิ การเล่นกีฬาชนิดต่างๆ โดยในวันนี้แอดมินจะพาทุกคนมารู้จักกับโรคต่างๆที่ทำให้เกิดอาการปวดทางด้านในของเข่ากัน
Pes anserine bursitis
เป็นการอักเสบของถุงน้ำ (Bursa) ที่อยู่ระหว่างกระดูกหน้าแข้ง (Tibia) และเส้นเอ็นของกล้ามเนื้อขาทั้ง 3 มัดหรือ Pes anserinus นั่นเอง โดยตัวถุงน้ำนี้จะทำหน้าที่ช่วยรองรับแรงกระแทกและลดแรงเสียดทานขณะเคลื่อนไหว เมื่อมีการเสียดสีของถุงน้ำกับโครงสร้างอื่นๆโดยรอบมากเกินไปจึงเกิดการอักเสบขึ้น เรียกว่า Bursitis
หลังจากรู้จักเจ้าถุงน้ำสาเหตุหลักของปัญหาเรากันแล้วก็มาดูที่โครงสร้างอื่นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบกันเถอะ
Pes anserine เป็นชื่อเรียกจุดเกาะของกล้ามเนื้อต้นขา 3 มัด ได้แก่ Sartorius, Gracilis และ Semitendinosus ซึ่งหน้าที่โดยหลักของกล้ามเนื้อเหล่านี้ คือ การงอเข่าและหมุนขาเข้าด้านใน (Knee flexion and tibial internal rotation)
1. การใช้งานเข่าอย่างหนักและต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะการใช้งานกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการงอเข่า ซึ่งจะทำให้เกิดการเสียดสีที่ Pes anserine bursa มากยิ่งขึ้นส่งผลให้เกิดการอักเสบได้
2. การได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่าหรือแรงกระแทกโดยตรงที่บริเวณเข่าด้านใน
3. ขาดการยืดกล้ามเนื้อที่เหมาะสมก่อนการวิ่งหรือการออกกำลังกาย
4. ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมหรือภาวะเข่าบิดเข้าด้านใน (Knock knee) มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดโรคนี้ได้
- มีอาการปวดบริเวณเข่าด้านในตอนใช้งาน โดยจะปวดเพิ่มมากขึ้นเมื่อขึ้นหรือลงบันได
- พบจุดกดเจ็บบริเวณจุดเกาะของกล้ามเนื้อ pes anserine ที่มีถุงน้ำอยู่ใต้ต่อ ซึ่งจะคลำได้ตรงด้านในส่วนต้นของกระดูก tibia ต่ำกว่าแนวข้อเข่าลงมาเล็กน้อย
- ในรายที่เพิ่งเริ่มมีอาการอาจมีบวม แดง ร้อนบริเวณเข่าด้านในร่วมด้วย
- ในบางราย อาจมีกำลังกล้ามเนื้อที่ลดลง มีองศาการเคลื่อนไหวที่ลดลง หรือมีรูปแบบการเดินที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติได้
- ในระยะแรก หากยังมีอาการบวม แดง และร้อนบริเวณข้อเข่าด้านใน แนะนำให้พักการใช้งานเข่าข้างที่มีอาการ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอาการ เช่นการขึ้นลงบันได การวิ่ง และประคบเย็นบริเวณที่มีอาการปวดประมาณ15 -20 นาที จะช่วยบรรเทาอาการปวดและบวมได้
1. ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง
วิธียืด : นอนหงาย คลองยางยืดหรือผ้าไว้บริเวณใต้ส้นเท้า ยกขาขึ้นจนถึงระดับที่รู้สึกตึงบริเวณด้านหลังของขา โดยที่เข่ายังเหยียดตรงอยู่ ยืดค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง
2. ท่ายืดกล้ามเนื้อหน้าขา
วิธียืด : ยืนตรง งอเข่าข้างที่ต้องการยืดขึ้นพร้อมใช้มือช่วยในการเหยียดสะโพกไปด้านหลังจนถึงจุดที่รู้สึกตึง ดังรูป ยืดค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง
3. ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านใน
วิธียืด : นั่งขัดสมาธิโดยนำปลายเท้าทั้งสองข้างชนกัน ดันปลายเท้าเข้าชิดกับลำตัวจนรู้สึกตึงบริเวณต้นขาด้านใน วางศอกลงบนต้นขาและดันลงพร้อมกับโน้มตัวมาด้านหน้าเล็กน้อยโดยที่หลังยังตรงอยู่ ยืดค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง
4. ท่าออกกำลังกายเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อหน้าขา
วิธีทำ : นั่งเก้าอี้ เตะขาขึ้นช้าๆจนเข่าเหยียดตรง เกร็งหน้าขาค้างไว้ 10 วินาที ทำทั้งหมด 10 ครั้ง 3 เซต
5. ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อสะโพก
วิธีทำ : นอนตะแคง พร้อมงอเข่าทั้งสองข้าง เปิดขากางสะโพกออกประมาณ 90 องศา ทำทั้งหมด 10 ครั้ง 3 เซต
สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง
สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"
ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare
เอ็นข้างเข่าอักเสบ หรือ Iiotibial Band syndrome (ITB syndrome) โรคที่พบมากเป็นอันดับต้นๆในนักวิ่งหรือกลุ่มคนชอบวิ่ง
เรามาทำความรู้จักกล้ามเนื้อและโครงสร้างที่มีปัญหากันสักเล็กน้อยนะคะ
IT band (iliotibial band) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีความหนามาก เกาะตั้งแต่สะโพกส่วนบนลงมาถึงบริเวณด้านข้างของหัวเข่า โดย ITB จะเชื่อมต่อกับ TFL ,Gluteus maximus , Gluteus medius,Hamstring และ Quadriceps ด้านข้าง
Tensor fasciae latae (TFL) เป็นกล้ามเนื้อทางด้านข้างของสะโพก เกาะอยู่ที่ส่วนหน้าของกระดูกเชิงกรานทำหน้าที่กางและหมุนขาเข้าด้านใน
Gluteus maximus ทำหน้าที่เหยียดขา กางต้นขา หมุนต้นขา ไปทางด้านข้าง
Gluteus medius มีหน้าที่สำคัญในการกางสะโพก และช่วยเพิ่มความมั่นคงให้แก่ข้อสะโพก
- กล้ามเนื้อ Gluteus medius ที่ทำหน้าที่กางสะโพก ไม่แข็งแรง จากรูป ภาพ B เมื่อยืนบนขาข้างเดียว กระดูกเชิงกรานด้านขาที่ยกขึ้นจะลดต่ำลง ลำตัวก็จะเอียงออกจากขาที่ยืนอยู่ และแรงที่พื้นกระทำต่อเราจะผ่านด้านในข้อเข่ามากขึ้น ซึ่งจะทำให้เอ็นข้างต้นขา (iliotibial band) ทำงานมากขึ้น และเพิ่มแรงกดด้านในข้อเข่าด้วย ทำให้เกิดการวิ่งไขว้ขา (จากงานวิจัยพบว่า นักวิ่งที่มีปัญหาเอ็นข้างเข่าอักเสบ เวลาวิ่งขาจะมีการเฉียงเข้าด้านในมากกว่า ก็คือการวิ่งไขว้ขานั่นเอง)
- การเคลื่อนไหวของขาที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะเมื่อวิ่ง แล้วมีการหมุนข้อเข่า หรือปลายเท้าเข้าด้านใน
- หากมีอาการบวมแดงร้อน ให้ประคบเย็นบริเวณเข่าด้านนอก 15-20 นาที ร่วมกับพักการใช้งาน
- หากเป็นมานาน และไม่มีอาการบวมแดงร้อน ให้ประคบอุ่นบริเวณด้านข้างต้นขาและเข่า 15-20 นาที แล้วยืดกล้ามเนื้อ
การฉีดยา (Prolotherapy Injection) คือฉีดกลูโคสเข้าไปที่บริเวณกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการอักเสบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเร่งกระบวนการฟื้นฟูและรักษาตามธรรมชาติ โดยจะใช้เครื่องอัลตราซาวน์ในการนำการฉีดยา เพิ่มความปลอดภัยและแม่นยำในการฉีด และลดความเสี่ยงการฉีดไปโดนเส้นประสาท
การรักษาทางกายภาพบำบัด เป็นการรักษาจากต้นเหตุของปัญหา แก้ไขโครงสร้างกระดูกกล้ามเนื้อที่เป็นปัญหาโดยตรง ฟื้นฟูให้คุณกลับมาทำกิจวัตรประจำวันหรือเล่นกีฬาได้อย่างปลอดภัยและไร้อาการเจ็บ ปัจจุบันวิธีการรักษาทางกายภาพบำบัดก้าวล้ำไปมาก มีทั้งเทคนิควิธีการรักษาที่ทันสมัยและเทคโนโลยีที่คุณภาพสูง
การใช้ Therapeutic ultrasound เข้าไปช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ โดยการเพิ่มการไหลเวียนของเลือด นำออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้ในขบวนการซ่อมแซมมาให้กับเนื้อเยื่อเหล่านี้ คุณจะเห็นถึงผลต่างทันทีหลังการรักษา
การใช้ High Power LASER therapy เข้าไปช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ ช่วยลดปวด โดยกระตุ้นให้ไมโตรคอนเดรียซึ่งเป็นแหล่งพลังงานในเซลล์เนื้อเยื่อทำงานได้อย่างประสิทธิภาพในการซ่อมตัวเองเร็วยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับเนื้อเยื่อที่มีน้ำหรือเลือดมาเลี้ยงน้อย อาทิเช่น เอ็นข้อต่อ เอ็นกล้ามเนื้อ ในร่างกาย
คลายกล้ามเนื้อบริเวณที่ตึง ด้วย Foam Roller ทำ10-15 ครั้ง
***แต่ไม่ควรกลิ้งโฟมบนบริเวณที่มีอาการเจ็บโดยตรง
นอนหงาย เหยียดเข่าทั้ง 2 ข้าง ยกขาขึ้นค้างไว้ 3 วินาที แล้ววางลงช้าๆ ทำ 15 ครั้ง 3 รอบ
นอนหงาย งอเข่า 45 องศา และรัดยางยืดไว้เหนือเข่า ค่อยๆกางสะโพกออก ค้างไว้ 3 วินาที แล้ววางลงช้าๆ ทำ 15 ครั้ง 3 รอบ
ยืนกางขาเล็กน้อย ย่อเข่า ตัวตรง และสวมยางยืดไว้เหนือเข่า แล้วค่อยๆก้าวออกไปด้านข้าง แล้วค้างไว้ 3 วินาที แล้วหุบขากลับมาท่าเริ่มต้น ทำ 15 ครั้ง 3 รอบ
อาการบาดเจ็บ อย่าปล่อยไว้นาน อย่าคิดว่ามันคงไม่เป็นอะไรหรอก จริงๆแล้วยิ่งปล่อยไว้นานการรักษาจะยากและค่อนข้างใช้เวลานาน กว่าจะดีขึ้น ช้าไปร่างกายส่วนอื่นจะพังไปด้วยนะจ๊ะ ^^
สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง
สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"
ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare