Skip to main content

ปวดโคนนิ้ว

ปวดโคนนิ้วโป้ง ติดมือถือ ใช้โทรศัพท์ทำงานเยอะ ต้องอ่าน!!
Posted: January 16, 2024 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

ในชีวิตประจำวันของเรา นิ้วโป้งหรือนิ้วหัวแม่มือ เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่ถูกใช้งานมากและใช้งานอยู่ตลอดเวลา ทั้งในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เล่นโทรศัพท์ ถือของ รวมถึงการทำงาน เพราะฉะนั้นจึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วโป้ง โดยโรคที่พบได้บ่อยนั้น ได้แก่

De Quervain’s disease หรือปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ เกิดจากการเสียดสีระหว่างเส้นเอ็นนิ้วโป้งด้านนอกและปลอกหุ้มเส้นเอ็น ทำให้ปลอกหุ้มเอ็นหนาตัวขึ้น และเกิดการอักเสบตามมา ส่งผลให้รู้สึกปวดขณะขยับนิ้วโป้งหรือข้อมือ บางครั้งแม้ไม่ได้มีการใช้งานก็มีอาการปวด พบได้บ่อยในคนที่ใช้งานข้อมือซ้ำๆ ขยับไปมาตลอดเวลา ทำให้มีอาการของโรคนี้ได้

วิธีการรักษาเบื้องต้น หากมีการอักเสบเกิดขึ้น 1 – 2 วันแรก หรือมีอาการปวด บวม แดง ร้อน สามารถประคบเย็นหรือแช่มือในน้ำเย็นเพื่อบรรเทาการอักเสบก่อน หลังจากนั้นดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ ดังนี้
1. แช่มือในน้ำอุ่นหรือประคบอุ่นด้วยแผ่นประคบอุ่นไฟฟ้าครั้งละ 10 - 15 นาที อย่างน้อย 2 - 3 รอบต่อวันพร้อมกับขยับยืดเหยียดนิ้วไปด้วย
2. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้งานนิ้วโป้งและข้อมือหนัก หรือเลี่ยงใช้งานซ้ำๆ
3. ใส่อุปกรณ์ support เช่น wrist - thumb support เพื่อช่วยป้องกันการขยับของนิ้วโป้ง

ภาพแสดง อุปกรณ์ประคองข้อมือ Wrist-thumb support

หากยังไม่ดีขึ้นภายใน 3 - 5 วัน หรือปวดมากจนใช้งานไม่ได้ ควรรีบพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อประเมินอาการและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม โดยหากใครยังไม่ต้องการผ่าตัด สามารถใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดเพื่อรักษาได้ เช่น Focus Shockwave, High Power Laser, Ultrasound Therapy, Electrical Stimulation เพื่อช่วยลดการอักเสบ ลดอาการปวด และกระตุ้นการซ่อมแซมเนื้อเยื่อได้ หรืออีกแนวทางคือการฉีดยาเพื่อช่วยลดอาการปวดและกระตุ้นการซ่อมแซม โดยใช้เกล็ดเลือดสกัดเข้มข้น (PRP) เพื่อให้เห็นผลเร็ว มีประสิทธิภาพและปลอดภัย

ทั้งนี้ส่วนที่สำคัญที่สุดคือการดูแลและป้องกันตัวเอง หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้งานนิ้วโป้งและข้อมือหนักๆ การขยับซ้ำๆใช้งานตลอดเวลา ต้องมีการพักการใช้งานบ้าง แต่หากไม่สามารถหยุดการใช้งานได้ควรยืดเหยียดนิ้วโป้งบ่อยๆ และแช่มือในน้ำอุ่นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการอักเสบที่รุนแรง

นิ้วล็อค แบบนี้ไม่เลิฟแน่ !!!
Posted: July 13, 2021 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

สาเหตุของนิ้วล็อค

อาการนิ้วล็อคจะเกิดขึ้นเมื่อปลอกหุ้มเอ็นตรงนิ้วอักเสบหนาตัวขึ้น ซึ่งทำให้เอ็นและปลอกหุ้มเอ็นตรงนิ้วไม่สามารถยืดหรืองอได้ตามปกติ

สาเหตุของนิ้วล็อค


ปัจจัยที่เสี่ยงให้เกิดอาการนิ้วล็อค

- การหิ้วของหนักเกินไป เช่น หิ้วตะกร้า ถุงพลาสติก หรือ ถังน้ำ

- การบิดผ้าหรือซักผ้าด้วยมือเปล่าจำนวนมากๆ 

- อาชีพหรือกิจกรรมที่ต้องใช้มือทำและทำให้มือรับน้ำหนักเป็นเวลานานและทำท่าเดิมซ้ำบ่อย ๆ เช่น ทำสวน ตัดแต่งต้นไม้ ใช้ไขควงทำงาน หรือใช้อุปกรณ์ที่ต้องออกแรงกด 

- พบได้ทั่วไปในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

- เกิดขึ้นบ่อยที่สุดกับผู้ที่มีอายุ 40-60 ปี

- คนที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) โรคเกาต์ เบาหวาน เป็นต้น

- การเล่นกีฬาประเภท ตีกอล์ฟ การตีเทนนิส ซึ่งทำให้มีโอกาสเกิดนิ้วล็อคมากกว่ากีฬาประเภทอื่น


อาการของนิ้วล็อค

นิ้วล็อคมักเกิดขึ้นกับนิ้วโป้ง นิ้วกลาง หรือนิ้วนาง หรืออาจเกิดขึ้นกับนิ้วหลายนิ้วได้ในเวลาเดียวกัน โดยอาการนิ้วล็อคจะเกิดขึ้นเมื่อนิ้วใดนิ้วหนึ่งพยายามงอในขณะที่มือต้องออกแรงทำบางอย่าง เมื่อนิ้วล็อค อาจจะเกิดอาการดังต่อไปนี้

- รู้สึกดังกึก หรือฝืดเมื่อต้องงอหรือยืดนิ้ว

- เกิดอาการนิ้วแข็ง ซึ่งมักเกิดขึ้นตอนเช้ารู้สึกตึง

- มีก้อนนูนขึ้นมาตรงโคนของนิ้วที่ล็อค

- งอนิ้วสะดวก แต่เหยียดนิ้วลำบาก

- ในรายที่เป็นมานานจะพบการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เหยียดนิ้ว 


ระดับความรุนแรงของอาการนิ้วล็อคได้ทั้งหมด 4 ระดับ

ระดับที่ 1 : ปวดบริเวณโคนนิ้ว จากภาวะเส้นเอ็นอักเสบ รู้สึกฝืดเป็นบางครั้งเมื่อเหยียดงอนิ้วในช่วงตื่นนอนหรืออากาศเย็น แต่เมื่อขยับนิ้วมือไปสักพักก็จะกำมือได้สะดวกขึ้น 

ทานยาแก้อักเสบ แช่น้ำอุ่น ทำกายภาพบำบัด

ระดับที่ 2 : รู้สึกฝืดทุกครั้งเมื่อขยับนิ้ว และเป็นมากเมื่อเหยียดนิ้วออกร่วมกับมีอาการปวด 

ทำกายภาพบำบัด

ระดับที่ 3 : เหยียดนิ้วได้ยากมากขึ้น ต้องมืออีกข้างช่วยเหยียดนิ้วออก และมีเสียงดังป๊อกขณะเหยียดนิ้วออก 

ทำกายภาพบำบัด ฉีดยา

ระดับที่ 4 : ถือว่าเป็นระดับที่รุนแรงที่สุด คือนิ้วจะงออยู่ไม่สามารถเหยียดนิ้วออกมาได้อีกเลย เนื่องจากปุ่มเส้นเอ็นมีขนาดใหญ่มากจนไม่สามารถรอดผ่านปลอกหุ้มเส้นเอ็นได้ และเมื่ออยู่ในท่างอนิ้วนานๆจะทำให้นิ้วมือเกิดการผิดรูปขึ้นตามมาในที่สุด

ฉีดยา ผ่าตัด

อาการนิ้วล็อคเป็นอาการที่รักษาได้และรักษาหายขาด แต่หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานๆ ข้อที่ค้างอยู่งอไม่ลงอาจจะทำให้มีข้อยึดและส่งผลให้เกิดข้อยึดติดถาวรถึงแม้จะทำการรักษาแล้วก็ตาม ดังนั้นไม่ควรปล่อยให้เกิดอาการในระยะที่ 3 หรือระยะที่ 4 ไว้เป็นเวลานานๆ 


การรักษาด้วยตนเองในเบื้องต้น

- ให้หยุดการใช้งานของนิ้วข้างที่ปวดโดยการดาม splint ที่นิ้วมือ เพื่อลดการใช้งานของนิ้วไม่ให้อาการปวดลุกลามจนนำไปสู่นิ้วล็อกสมบูรณ์ 

ให้หยุดการใช้งานของนิ้วข้างที่ปวดโดยการดาม splint ที่นิ้วมือ

- หมั่นแช่นํ้าอุ่นทุกวัน เช้า-เย็น อย่างน้อยวันละ 15-20 นาที

- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การเกร็งนิ้ว หรือทำกิจกรรมใดๆที่ทำให้นิ้วต้องเกิดการเสียดสี แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้แนะนำให้ใส่ถุงมือ

หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การเกร็งนิ้ว หรือทำกิจกรรมใดๆที่ทำให้นิ้วต้องเกิดการเสียดสี

- หมั่นยืดเหยียดนิ้วมือทุกๆชั่วโมง เพื่อให้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อผ่อนคลายอาการปวดจะได้ทุเลาลง ตามท่าดังต่อไปนี้ 

1.  วางมือลงบนพื้นราบ แล้วยกนิ้ว ทีละนิ้วขึ้นมา ไล่ไปให้ครบ 5 นิ้ว ทำซ้ำ 3-5 รอบ

วางมือลงบนพื้นราบ แล้วยกนิ้ว ทีละนิ้วขึ้นมา ไล่ไปให้ครบ 5 นิ้ว

2. ใช้หนังยางไว้ในมือดังภาพ แล้วค่อยๆกางนิ้วมือทั้ง 5 ออก ช้าๆ ทำ 10 ครั้ง 3 รอบ

ใช้หนังยางไว้ในมือดังภาพแล้วค่อยๆกางนิ้วมือทั้ง 5 ออก ช้าๆ

3. ทำท่า OK แล้วค่อยๆเหยียดนิ้วออกช้าๆ ทำ 10 ครั้ง 3 รอบ

ทำท่า OKแล้วค่อยๆเหยียดนิ้วออกช้าๆ

4. แบฝ่ามือ ค่อยๆงอนิ้วชี้ กลาง นาง ก้อยลง ช้าๆ จากนั้นค่อยๆกำมือ และค่อยๆคลายนิ้วโป้งช้าๆ ทำ 10 ครั้ง 3-5 รอบ ดังภาพ

 แบฝ่ามือค่อยๆงอนิ้วชี้ กลาง นาง ก้อยลง ช้าๆ

จากนั้นค่อยๆกำมือค่อยๆคลายนิ้วโป้งช้าๆ ทำ 10 ครั้ง

5. ค่อยๆกำลูกบอลหรือลูกเทนนิสช้าๆ ทำ 10 ครั้ง 3-5 รอบ 

ค่อยๆกำลูกบอลหรือลูกเทนนิสช้าๆ ทำ 10 ครั้ง

การรักษาของทางรีแฮปแคร์คลินิก เรามีแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูวางโปรแกรมการรักษาร่วมกับนักกายภาพบำบัด เช่นใช้เลเซอร์พลังงานสูงเพื่อลดปวดและออกกำลังกายกล้ามเนื้อที่ผิดปกติเพื่อปรับโครงสร้างร่างกายให้แข็งแรงขึ้น การฉีด prolotherapy และวิตามินซึ่งขึ้นอยู่กับอาการ และความรุนแรงของโรค เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการซ่อมแซมตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด 

หากมีข้อสงสัยสามารถปรึกษากับทางรีแฮปแคร์คลินิกได้โดยตรง โดยทางคลินิกมีแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และนักกายภาพบำบัด คอยแนะนำให้คำปรึกษาได้ตลอด

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare