Skip to main content

ปวดเข่า

การตรวจอัลตราซาวด์ระบบข้อต่อและกล้ามเนื้อ
Posted: April 21, 2022 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

#ปวดเข่า #เข่าเสื่อมหรือคิดไปเอง #ทำไมข้อเข่ามีเสียง สามารถตรวจโดยใช้เครื่องอัลตราซาวน์วินิจฉัยเพื่อตรวจดูความผิดปกติ หรือ Ultrasound Diagnosis เทคโนโลยีเพื่อความสามารถ ความละเอียดในการวินิจฉัยโรค หาความผิดปกติของโรคในระบบกระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อและเส้นประสาท มีความถูกต้องและแม่นยำสูง 

คนไข้เห็นภาพความผิดปกติจากเครื่องอัลตราซาวน์ทันที ทำให้สามารถเข้าใจโรคได้ดีขึ้น นอกจากนี้เมื่อนำมาใช้นำการฉีดยา ทำให้มีความแม่นยำถึง 99% ปลอดภัยและให้ผลการรักษาที่ดี เจ็บน้อย ไม่เสี่ยงโดนจุดที่เป็นอันตรายเช่นการฉีดโดนเส้นเลือดหรือเส้นประสาท

เครื่องอัลตราซาวน์วินิจฉัยสามารถเห็นอะไรได้บ้าง ?

1. ความเสื่อมข้อเข่า 

2. กระดูกงอกบริเวณเข่า

3. การอักเสบในข้อเข่า 

4. ถุงน้ำหลังข้อพับเข่า

หากพบว่ามีอาการเข่าเสื่อม การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเทียมคือการเพิ่มความหล่อลื่นในข้อเข่า และการกายภาพบำบัดจะช่วยลดอาการปวด ซ่อมแซมและรักษาเนื้อเยื่อในข้อเข่าที่มีการอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้รู้สึกเจ็บ แน่น บวม และร้อน ในข้อเข่า

สรุป หากมีอาการปวดเข่า เข่ามีเสียง แนะนำตรวจด้วยอัลตราซาวด์ ไม่มีรังสี ปลอดภัย ช่วยหาสาเหตุของอาการปวดเข่าได้ดีกว่า X-Ray เพราะ X-Rayเห็นแต่กระดูก แต่อัลตราซาวด์สามารถเห็นข้อต่อ เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ หมอนรองกระดูก เนื้อเยื้อ หรือกระทั่งถุงน้ำในข้อเข่า ทำให้แพทย์สามารถวินิฉัยโรคอย่างแม่นยำ

และการฉีดน้ำเลี้ยงข้อเทียมของ Rehab care clinic จะทำการฉีดโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเฉพาะทางด้านระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ใช้ “อัลตราซาวนด์นำวิถีการฉีด” ทำให้น้ำเลี้ยงข้อเทียมสามารถเข้าไปในข้อเข่าได้ตรงจุด ลดโอกาสเกิดการผิดพลาดในการฉีดและไม่มีเลือดออก
 

เข่าเสื่อม ไม่อยากผ่า ต้องอ่าน!!
Posted: July 13, 2021 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

“ข้อเข่าเสื่อม” คือภาวะที่กระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่ดูดซับแรงกระแทกภายในข้อเข่าเกิดการสึกหรอและเสื่อมสภาพลง เมื่อผิวของกระดูกอ่อนเสียหายและบางลงเรื่อยๆ กระดูกข้อเข่าทั้งสองจะเสียดสีกันเอง ทำให้รู้สึกปวดเสียวในข้อขณะที่เดินลงน้ำหนักนั่นเอง โดยการเปลี่ยนแปลงของภาวะข้อเข่าเสื่อมไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ แต่สามารถชะลอความเสื่อมได้ 

มาดูโครงสร้างของข้อเข่าเพื่อให้เข้าใจการทำงานของเข่ามากขึ้น

โครงสร้างของข้อเข่า

กระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้งจะมาประกบกันเกิดเป็นข้อเข่า และจะมีกระดูกอ่อน (Cartilage) มาหุ้มผิวข้อทั้ง 2 เพื่อไม่ให้กระดูกทั้ง 2 เสียดสีกันจนเจ็บปวดและยังช่วยดูดซับแรงกระแทกของข้อเข่าทั้ง 2 ขณะที่มีการเคลื่อนไหว นอกจากนี้ภายในข้อเข่ายังมีน้ำเลี้ยงข้อเข่า (Synovial fluid) ซึ่งทำหน้าที่เสมือนน้ำมันหล่อลื่นภายในข้อเข่าอีกด้วย 

เมื่อกระดูกอ่อนเกิดการเสื่อม ผิวกระดูกต้นขาและหน้าแข้งเสียดสีกัน ทำให้มีอาการปวดเข่าขณะเดินลงน้ำหนัก และเมื่อผิวกระดูกเกิดความเสียหายร่างกายจะสร้างกระดูกงอกขึ้นมาทดแทน (spur) แต่กระดูกงอกเหล่านี้มีลักษณะขรุขระเหมือนหินงอกหินย้อย เมื่อเคลื่อนไหวข้อเข่าทำให้กระดูกงอกใหม่ไปเสียดสีกับเนื้อเยื่อรอบข้อเข่าทำให้เกิดอาการปวดตามาได้ 

เข่าโก่ง

นอกจากนี้ผู้ที่เป็นภาวะข้อเข่าเสื่อมจะมีกำลังกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าลดลง ความมั่นคงของข้อเข่าจึงลดลง เมื่อระยะเวลานานขึ้นอาจทำให้ข้อเข่ามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเกิดเป็นเข่าโก่งได้ในที่สุด 

ภาพ X ray ข้อเข่าเปรียบเทียบระหว่างข้อเข่าปกติ (ภาพซ้าย) และข้อเข่าเสื่อม (ภาพขวา)

ภาพ X ray ข้อเข่าเปรียบเทียบระหว่างข้อเข่าปกติ (ภาพซ้าย) และข้อเข่าเสื่อม (ภาพขวา)

ภาพอัลตราซาวน์ข้อเข่า โดยจะพบว่าระยะห่างระหว่างกระดูกหรือช่องว่างในข้อเข่าลดลง และพบกระดูกที่งอกขึ้นมาใหม่

ภาพอัลตราซาวน์ข้อเข่า โดยจะพบว่าระยะห่างระหว่างกระดูกหรือช่องว่างในข้อเข่าลดลง และพบกระดูกที่งอกขึ้นมาใหม่


สาเหตุของข้อเข่าเสื่อม

1. อายุที่มากขึ้นทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัย

2. น้ำหนักตัวที่เกินจะเพิ่มแรงกระทำต่อข้อเข่า

3. การใช้งาน ท่าทาง กิจกรรมที่กระตุ้นให้เข่าเสื่อมเร็วขึ้น เช่น การนั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ การเดินขึ้น-ลงบันไดบ่อยๆ ทำให้มีแรงกดต่อข้อเข่ามาก 

4. ผู้หญิงเมื่อหมดประจำเดือน

5. การใช้งานเข่าอย่างผิดวิธี เช่นออกกำลังกายโดยการวิ่งทุกวัน หรือเล่นกีฬาที่ต้องกระโดดโดยไม่ฝึกกำลังกล้ามเนื้อขา

6. เคยประสบอุบัติเหตุที่เข่าโดยตรง เคยได้รับการผ่าตัดที่เข่า จะทำให้เป็นเข่าเสื่อมเร็วขึ้น

7. ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เก๊าต์ เป็นต้น


อาการของข้อเข่าเสื่อม

- ปวดเสียวในข้อเข่า โดยเฉพาะข้อเข่าด้านในเมื่อเวลามีการเดินลงน้ำหนัก หรือการเคลื่อนไหว เช่น เดิน ขึ้น-ลงบันได้ นั่งพับเข่า อาการดีขึ้นเมื่อหยุดพักการใช้ข้อ 

- มีอาการฝืดขัดเมื่อหยุดพักการใช้ข้อเข่าเป็นเวลานาน โดยเฉพาะช่วงเช้าหลังตื่นนอน

- ข้อเข่าบวม เนื่องจากการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบข้อเข่า 

- เมื่อขยับข้อเข่าจะมีเสียงดัง ซึ่งเกิดจากการเสียดสีของกระดูก

- เมื่อข้อเข่าเสื่อมเป็นระยะเวลานานจะพบว่าเหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุด กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าหลวม ข้อเข่าผิดรูปเกิดภาวะข้อเข่าโก่งทำให้เดินและใช้ชีวิตประจำวันลำบาก

อาการของข้อเข่าเสื่อม


ทำอย่างไรไม่ให้เข่าเสื่อม

- หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่มีแรงกดที่ข้อเข่า เช่น นั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ นั่งยองๆ นั่งเก้าอี้เตี้ย ไขว้ขา หรือการบิดหมุนเข่า , การขึ้น-ลงบันไดบ่อยๆโดยไม่จำเป็น , การยกหรือแบกของหนักๆ

- ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป เพื่อลดแรงกดและแรงกระแทกที่ข้อเข่า

- หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่ต้องกระโดดหรือใช้ข้อเข่ามาก เช่น บาสเกตบอล การวิ่ง เทนนิส เป็นต้น

- ออกกำลังกายและบริการกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอย่างสม่ำเสมอ โดยการออกกำลังกายที่แนะนำคือ การว่ายน้ำ และการปั่นจักรยาน 

( ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการว่ายน้ำในภาวะข้อเข่าเสื่อมได้ที่ https://www.rehabcareclinic.com/blog/ปวดหล-ง-ปวดเข-าออกกำล-งกายในน-ำช-วยได-อย-างไร )

ออกกำลังกายใต้น้ำ


ท่าบริหารกล้ามเนื้อข้อเข่าสำหรับภาวะข้อเข่าเสื่อม

1.ยืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังและข้อพับเข่า 

วิธีทำ นอนหงายหรือนั่งหลังตรง เหยียดเข่าข้างที่จะยืดให้ตรง ใช้ผ้ายาวๆ หรือยางยืดคล้องที่เท้า กระดกข้อเท้าขึ้น และใช้มือทั้ง 2 ข้างดึงด้านปลายจนรู้สึกตึงแต่ไม่เจ็บ ค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 5-8 รอบ

1.ยืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังและข้อพับเข่า

2. ยืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า 

วิธีทำ ยืนตรงมือจับเก้าอี้ งอเข่าข้างที่ต้องการยืดไปทางด้านหลัง หัวเข่าชี้ลงพื้น ใช้มือจับข้อเท้าข้างที่ยืดไปทางด้านหลัง จนรู้สึกตึงแต่ไม่เจ็บ ค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 5-8 รอบ

ยืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า

3. ท่าออกกำลังกล้ามเนื้อข้อเข่า

วิธีทำ นอนหรือนั่งหลังตรง ใช้ผ้าขนหนูม้วนวางใต้ข้อพับเข่า กดเข่าลงกับผ้า พร้อมกับกระดกข้อเท้าขึ้น ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง จำนวน 3 รอบ

ท่าออกกำลังกล้ามเนื้อข้อเข่า

4. ท่าออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า 

วิธีทำ นอนหงายใช้ foam roller หรือ หมอนใบใหญ่วางใต้ข้อพับเข่า เตะขาขึ้นให้เข่าเหยียดตรงช้าๆ พร้อมกับกระดกข้อเท้าขึ้น ค้างไว้ 10 วินาที จากนั้นวางขาลงที่เดิมช้าๆ ทำซ้ำ 10 ครั้ง จำนวน 3 รอบ 

ท่าออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า

5. ท่าออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า

วิธีทำ นั่งลำตัวตรงบนเก้าอี้ เท้าทั้ง 2 ข้างวางราบ เข่างอ 90º เตะขาขึ้นเข่าเหยียดตรงช้าๆ พร้อมกับกระดกข้อเท้าขึ้น ค้างไว้ 10 วินาที จากนั้นวางเท้าลงกับพื้นช้าๆ ทำซ้ำ 10 ครั้ง จำนวน 3 รอบ

ท่าออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า

6. ท่าออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง

วิธีทำ ยืนตรงมือจับเก้าอี้ เตะขางอเข่าขึ้นไปทางด้านหลังช้าๆ หัวเข่าชี้ลงพื้น จากนั้นวางขาลงกับพื้นช้าๆ ทำซ้ำ 10 ครั้ง จำนวน 3 รอบ

ท่าออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง


การรักษาข้อเข่าเสื่อม 

มีทั้งการรักษาโดยไม่ผ่าตัด และการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ในที่นี้ขอพูดถึงการรักษาโดยไม่ผ่าตัดนะคะ

การรักษาโดยไม่ผ่าตัด

1. ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต เช่น ลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงท่าที่ทำให้เกิดแรงกดต่อข้อเข่า ออกกำลังกายเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อข้อเข่า เช่นว่ายน้ำ ปั้นจักยานเป็นต้น

2. รับประทานยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบ

3. การทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวด และฝึกกำลังกล้ามเนื้อต้นขา


การรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม

- การดัดดึงข้อต่อ เพื่อลดอาการปวดและเพิ่มองศาการงอ-เหยียดเข่า (Mobilization) 

การดัดดึงข้อต่อเพื่อลดอาการปวดและเพิ่มองศาการงอ-เหยียดเข่า (Mobilization)

- การใช้ Ultrasound therapy ช่วยลดอาการปวดและการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ รักษาอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ และข้อต่อในชั้นลึก เร่งกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ โดยจะเพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน 

การใช้ Ultrasound therapy

- การใช้ High Power Laser therapy เกิดการกระตุ้นปลายประสาท ยับยั้งกระบวนการปวด ลดอาการปวด บวม และอักเสบ นอกจากนี้เลเซอร์มีผลความร้อน ทำให้หลอดเลือดขยายตัว มีผลในการนำเลือดและออกซิเจนมาเลี้ยงเซลล์มากขึ้น เร่งการจำกัดของเสีย ช่วยลดการอักเสบ และที่สำคัญเลเซอร์มีจุดเด่นในการปรับพลังงานของเซลล์ (ATP) จากการกระตุ้นการขนส่งออกซิเจน และไมโตรคอนเดรีย ภายในเซลล์ให้รวดเร็วขึ้น ผลจาก ATP ที่มากขึ้นทำให้เซลล์มีการซ่อมแซมฟื้นฟูที่รวดเร็วมากขึ้น

การใช้ High Power Laser therapy

วันนี้แนะกันพอหอมปากหอมคอเกี่ยวกับภาวะข้อเข่าเสื่อม ท่าบริหารสำหรับข้อเข่าเสื่อมและการรักษาไปแล้ว แต่ตอนต่อไปจะขอนำเสนอแนวทางการรักษาทางการแพทย์โดยไม่ต้องผ่าตัดกันบ้างนะคะ แล้วพบกันค่า^^

สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง  

สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"

ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare

ปวดหลัง&ปวดเข่าออกกำลังกายในน้ำช่วยได้อย่างไร
Posted: July 12, 2021 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

มีรายงานการศึกษาพบว่า ในการเคลื่อนไหวแขน กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (Core stability muscle) จะทำงานก่อนกล้ามเนื้อแขนเป็นเวลา 30 ms และจะทำงานก่อนกล้ามเนื้อขาเป็นระยะเวลา 110 ms กล่าวคือร่างกายจะสร้างความมั่นคงให้กับกระดูกสันหลังก่อนจะเคลื่อนไหวรยางค์แขนขา

ปวดหลัง

       ในผู้ที่มีปัญหาปวดหลังส่วนล่าง หรือ Low back pain กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวจะหดตัวช้า ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลังได้

       มีงานวิจัยพบว่าการออกกำลังกายกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหลัง หรือผู้ที่มีอาการปวดหลังอยู่แล้วช่วยให้กล้ามเนื้อแกนลางลำตัวมั่นคง ไม่บาดเจ็บมากขึ้น และลดอาการปวดลง

สาเหตุอาการปวดหลัง

ออกกำลังกายในน้ำช่วยลดอาการปวดหลังได้อย่างไร

1. น้ำช่วยพยุงน้ำหนักร่างกายที่จะกระทำต่อข้อต่อ

2. กระแสน้ำจะรบกวนการทรงตัวขณะอยู่ในน้ำ เป็นการกระตุ้นให้กล้ามทำงาน เพื่อฝึกการทรงตัวขณะอยู่ในน้ำ

3. แรงต้านของน้ำช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ

ในภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้น เกิดจากเจล (Nucleus pulposus) ที่อยู่ในหมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาทับเส้นประสาทที่อยู่ด้านหลัง แรงดันน้ำจะช่วยดันเจลที่ปลิ้นออกมาทับเส้นประสาทให้กลับเข้าไปในหมอนรองกระดูกสันหลัง 

ออกกำลังกายใต้น้ำ

ภาวะข้อเข่าเสื่อม

ภาวะข้อเข่าเสื่อม

การออกกำลังกายในน้ำช่วยลดอาการปวดเข่าได้อย่างไร

1. การออกกำลังกายในน้ำลดแรงกระทำต่อกระดูกและข้อที่รับน้ำหนัก ไม่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บเพิ่ม และลดอาการปวดเข่าได้

2. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข้อเข่า ข้อสะโพก

3. ขณะออกกำลังกายร่างกายมีการหลั่งสารเอ็นโดรฟิน ทำให้ลดความเครียด และมีความสนุก

ตัวอย่างท่าออกกำลังกายเข่าและหลังในน้ำ

- ปั่นจักรยานในน้ำ ฝึกความแข็งแรงของ

- กล้ามเนื้อรอบข้อเข่า

- กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว

- ฝึก Balance

ตัวอย่างท่าออกกำลังกายเข่าและหลังในน้ำ

โรคข้อเข่าเสื่อมคืออะไร ถ้าเป็นแล้วต้องผ่าตัดหรือไม่ และถ้าไม่อยากผ่าตัดต้องทำอย่างไร
Posted: July 08, 2021 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0


โรคข้อเข่าเสื่อมมักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป โดยอาการที่พบบ่อยคือ มีเสียงในเข่า ฝืด ตึง ปวดเวลาขึ้นลงบันได นั่งพับเพียบ หรือคุกเข่า โดยผู้ที่มีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสี่อมคือผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก อายุมาก คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ผู้ที่ใช้งานข้อเข่ามาก เช่นนักกีฬาที่ต้องกระโดด กระแทกหรือบิดเข่า หรือนักวิ่งมาราทอนที่ต้องใช้เข่าติดต่อกันเป็นเวลานาน


โรคข้อเข่าเสื่อมมีหลายระยะ หากตรวจพบในระยะแรกสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถตรวจวินิจฉัยได้ด้วยเครื่องมืออัลตราซาวน์ หากยังอยู่ในระยะแรกสามารถฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าเทียม (Hyaluronic Acid) เข้าไปจะสามารถลดอาการปวด การฝืดตึง เพิ่มการเคลื่อนไหวและชะลอการผ่าตัดข้อเทียมได้ โดยเฉลี่ยแล้วต้องฉีดยาประมาณ 3 เข็ม โดยเว้นระยะแต่ละเข็ม 1 สัปดาห์ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ไม่ต่างจากการฉีดยาทั่วไป อาจมีผลแค่บวมแดง ซึ่งสามารถหายเองได้จากการประคบเย็น ยาไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย และฤทธิ์ของยาจะอยู่ได้ประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปีขึ้นอยู่กับการดูแลเข่าและความรุนแรงของโรคในแต่ละคน และสามารถฉีดซ้ำได้ตามข้อบ่งชี้ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ


รายงานจากมหาวิทยาลัยมหิดลระบุว่า ณ ปัจจุบันประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่า 6 ล้านคนและมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น โดยผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปีพบได้มากถึง 50% ดังนั้น หากคุณหรือคนที่คุณรักมีอาการปวดเข่า เจ็บเข่า ลุกแล้วปวด นั่งแล้วปวด ยืนก็ปวด เดินก็ปวด และไม่ต้องการผ่าตัด เราขอแนะนำให้คุณปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งสามารถใช้เครื่องมือเทคโนโลยีล้ำสมัยในการตรวจเช็คโรคได้อย่างละเอียดและแม่นยำ หากพบว่าอาการอยู่ในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาได้ด้วยการไม่ต้องผ่าตัด ดังนั้น ช่วงระยะเวลาที่คุณตัดสินใจไปพบแพทย์จึงเป็นตัวแปรสำคัญในการบอกว่าคุณต้องผ่าตัดหรือไม่ รู้อย่างนี้แล้ว หากพบว่าคนที่คุณรักมีอาการดังกล่าว อย่ารอจนเป็นเยอะ และรีบแนะนำให้ไปพบแพทย์นะคะ


ที่ REHAB CARE CLINIC เรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและทีมนักกายภาพบำบัดเตรียมพร้อมสำหรับการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโดยเฉพาะ การวางแผนและประสานงานเป็นทีมสามารถเร่งการฟื้นฟูของคุณให้ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ลดการปวดอย่างทันทีและมีประสิทธิภาพ โดยมีโปรโมชั่นคอร์สการฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าเทียมอยู่ที่ 9,900 บาทต่อการฉีด 3 เข็ม หากคุณมีคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม ติดต่อสอบถามก่อนได้ที่ REHAB CARE CLINIC 061-801-2482